วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

การโมเสคภาพ (Mosaic) และตกแต่งภาพ

โมเสคภาพ (Mosaic) และตกแต่งภาพ
การเชื่อมต่อข้อมูลภาพ (Mosaic) เป็นการเชื่อมต่อหรือซ้อนภาพหลายภาพเข้าด้วยกัน เพื่อรวมกันเป็นภาพเดียว ซึ่งจะทำให้ภาพที่ได้ใหม่มีขนาดของข้อมูลใหญ่ขึ้น กระบวนการในการเชื่อมต่อข้อมูลภาพนี้เราเรียกว่า Mosaic ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้สร้างภาพเพียงภาพเดียวจากข้อมูลดาวเทียมในบริเวณที่ติดกันหรือใกล้เคียงกันหลายๆ ภาพ การทำโมเสคจะได้ภาพใหม่ที่มีการลดหรือขจัดความแตกต่างระหว่างภาพในส่วนที่มีการซ้อนทับกัน (Overlap) ในบริเวณรอยต่อของทั้งสองภาพ เพื่อไม่ให้มีความเข้มระดับสีเทาที่แตกต่างกันมากนัก สำหรับข้อมูลภาพที่จะนำมาโมเสค ข้อมูลภาพทั้ง 2 จะต้องมีขนาดของจุดภาพ (Pixel size) เท่ากันและระบบตำแหน่งพิดกัดของภาพเหมือนกันหลังจากที่มีการปรับแก้ทางเรขาคณิตแล้ว ขั้นตอนในการโมเสค หลังจากที่นำภาพทั้ง 2 ซ้อนทับเข้าด้วยกัน บริเวณที่ซ้อนทับกันของภาพจะต้องมีการกำหนดตำแหน่งพิกัดใหม่โดยใช้จุดควบคุมทางภาคพื้นดิน (GCPs) เพื่อให้แต่ละจุดภาพมีการปรับแก้ทางตำแหน่งตรงกัน จากนั้นจะทำการกำจัดจุดภาพที่ซ้ำซ้อน (Duplicate pixel) ที่อยู่ภายในบริเวณ overlap ของภาพทั้ง 2 ออกไปให้เหลือเพียงจุดภาพชุดเดียว แล้วทำการยึดค่าความคมชัดที่เหมาะสมกับจุดภาพทั้งหมดของข้อมูลภาพทั้งสองให้พร้อมกัน เพื่อให้ได้ภาพใหม่มีระดับความเข้มที่สม่ำเสมอตลอดทั้งภาพ

การประยุกต์ใช้ขอมูลรีโมทเซนซิงในประเทศไทย


การสำรวจข้อมูลจากระยะไกลมีประโยชน์ในการนำมาใช้เพื่อแปลตีความและวิเคราะห์หาข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้ รวมตลอดถึงสามารถใช้ในการสำรวจสภาพความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาด้วย โดยจะได้ผลการสำรวจในรูปของแผนที่ ซึ่งสามารถนำมาศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิเคราะห์ และประเมินผล เพื่อหาภูมิประเทศต่อไปได้ในปัจจุบันวิทยาการสาขาต่างๆ ที่ได้มีการนำข้อมูลการสำรวจระยะไกลมาใช้ประโยชน์ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ป่าไม้
การติดตามตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศพบว่า ในปี พ.ศ. 2516 มีพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 43.20 ของประเทศ ส่วนปี 2543 เหลือเพียงร้อยละ 33.33 โดยเฉพาะในเขตพืนที่ป่าต้นน้ำลำธาร นอกจากนี้ยังนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมมาประยุกต์ใช้ในด้านการจแนกชนิดของป่า สำรวจหาพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์และป่าเสื่อมโทรมทั่วประเทศ การศึกษาด้านไฟป่า การหาพื้นที่เหมาะสำรหรับการปลูกสร้างสวนป่าทดแทนบริเวณพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกบุกรุก
2. การเกษตร การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมทางด้านการเกษตรส่วนใหญ่จะใช้ศึกษาหาพื้นที่เพาะปลูกของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ข้าวนาปี ข้าวนาปัง สวนยางพารา สับปะรด อ้อย และ ข้าวโพด การสำรวจตรวจสอบสภาพของพืชที่ปลูก การเปลี่ยนแปลงบริเวณเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ตลอดจนการกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตร
3. การใช้ที่ดิน
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบต่างๆ เช่น การทำเกษตรกรรม เหมืองแร่ การก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย สำรวจและวางแผนการใช้ที่ดิน การจำแนกความเหมาะสมดิน (Land Suitability) ตลอดจนการจัดทำแผนที่แสดงขอบเขตการใช้ที่ดินแต่ละประเภท ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วตาม ฤดูกาลและสภาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
4. ธรณีวิทยาและธรณีสัณฐาน
การจัดทำแผนที่ภูมิสันฐานวิทยาและแผนที่ภูมิพฤษศาตร์ (Mapping geomorphology and gebtany) แผนที่ธรณีวิทยา (Geology map) ตรวจสอบภาวะธรรมชาติของดิน หินและบริเวณเกิดแผ่นดินไหว การวิเคราะห์ธรณีสันฐานและการระบายน้ำ (Landform and drainage analysis) ธรณีโคร้างสร้างของประเทศไทยซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสนับสนุนในการพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ เช่น การหาแหล่งแร่ แหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ แหล่งน้ำบาดาล การสร้างเขื่อน เป็นต้น
5. อุทกวิทยา
การศึกษาในด้านอุทกวิทยา อาจรวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับ อุทกภาพ ซึ่งหมายถึงแหล่งน้ำทั้งบนบก ในทะเล น้ำบนดินและน้ำใต้ผิวดิน ซึ่งรวมไปถึงแหล่งน้ำ ปริมาณ คุณภาพ ทิศทางการไหล การหมุนเวียน ตลอดจนองค์ประกอบอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับทรัพยากรน้ำ ภาพถ่ายดาวเทียมจะให้ข้อมูลแหล่งที่ตั้ง รูปร่าง และขนาดของแหล่งน้ำผิวดินเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้ข้อมูลดาวเทียมสำหรับติดตามประเมินผลการบำรุงรักษาระบบและการจัดสรรน้ำของโครงการชลประทานต่างๆ การศึกษาด้านการใช้น้ำแลการบำรุ่งรักษเขื่อน รวมทั้งการสำรวจบริเวรที่ราบที่จะเกิดน้ำท่วมและสภาวะทน้ำท่วม
6. สมุทรศาสตร์
ศึกษาเกี่ยวกับการไหลเวียนของน้ำทะเล ตะกอนในทะเลและคุณภาพของน้ำบริเวณชายฝั่ง เช่น การแพ่กระจายของตะกอนแขวนลอยที่เกิดจากกิจกรรมเหมืองแร่ในทะเล นอกจากนี้ได้ศึกษาการแพร่กระจายของตะกอนบริเวณปากแม่น้ำต่างๆ ของอ่าวไทย รวมทั้งการติดตามการพังทลายของชายฝั่งทะเล
7. ภัยพิบัติธรรมชาติ
ประเทศไทยมักประสบปัญหาเกี่ยวกับอุบัติภัยทางธรรมชาติ เช่น อุทกภัย วาตภัย และแผ่นดินถล่ม เป็นต้น ซึ่งภาพจากดาวเทียมช่วยทำให้เราทราบขอบเขตบริเวณที่เกิดอุบัติภัยได้รวดเร็ว รวททั้งช่วยในการติดตามและประเมินผลเสียหายเบื้องต้นเกี่ยวกับอุบัติภัยต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนการชวยเหลือและฟื้นฟูต่อไปได้ ตัวอย่างเช่น อุทกภัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี่ พ.ศ. 2531 วาตภัยที่จังหวัดชุมพร เมื่อปี พ.ศ. 2532 และแผ่นดินถล่มบริเวณ ตำบลน้ำก้อและน้ำชุนจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2543
8. วางผังเมือง
ปัจจุบันภาพถ่ายดาวเทียมมีความละเอียดเชิงพื้นที่เทียบเท่ากับภาพถ่ายทางอากาศ เช่น ภาพจากดาวเทียม IKONOS ที่มีความละเอียด 1 เมตร ซึ่งเหมาะสมในการประยุกต์ใช้ในการวางผังเมืองของชุมชนที่อยู่ในเมืองขนาดใหญ่ และการเคลื่อนย้ายเมืองที่มีความแออัดไปอยู่ในที่แห่งใหม่ ตลอดจนการออกแบบถนนหลวง ไฟฟ้า ประปา และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ให้เหมาะสม
9. การประมง
ใช้ในการสำรวจหาพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประเภทต่างๆ รวมถึงการหาแหล่งที่อยู่อาศัยของปะการังใต้ทะเล การกระจายตัวของแพลงตอนพืชและสัตว์
10. สิ่งแวดล้อม
ใช้ในการตรวจสอบน้ำเสียที่ไหลลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง ตรวจสอบบริเวณที่ครอบคลุมด้วยควันพิษ ตรวจดูผลเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ หรือตรวจสอบสภาวะความเข้มข้นของแก๊สต่างๆ ในชั้นบรรยากาศ
11. การทำแผนที่
ภาพถ่ายดาวเทียมเป็นภาพที่ทันสมัยที่สุดสามารถนำไปแก้ไขแผนที่ภูมิประเทศได้อย่างรวดเร็ว มีความถูกต้องเป็นที่ยอมรับ เช่น ภาพจากดาวเทียม QuickBird ที่มีรายละเอียดเชิงพื้นที่เท่ากับ 61 เซนติเมตร ทำให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องทางตำแหน่งและรูปทรงเรขาคณิตในระดับสูง นอกจากนี้ภาพถ่ายดาวเทียมสามารถแสดงลักษณะภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนเส้นทางคมนาคม หรือสิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้ได้แผนที่ที่ทันสมัยเพื่อการวางแผนที่รวดเร็วและถูกต้องยิ่งขึ้น

คิดอย่างไรไม่ให้เครียด

เดรียด เป็นภาระที่ทุกคนไม่อยากประสบพบพาน แต่คงไม่มีใครที่ไม่เคยเครียด ดังนั้นมาทำความรู้จักกับความเครียด และวิธีการคิดเพื่อที่จะได้ไม่เครียดกันดีกว่า
ความเครียด เป็นเรื่องของร่างกายและจิตใจ ที่เกิดจากการตื่นตัวเตรียมรับกับสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งคาดว่าเป็นเรื่องที่เกินกำลังความสามารถที่จะแก้ไขได้ ทำใหเรารู้สึกหนักใจ เป็นทุกข์และส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติทั้งทางร่างกายและจิตใจตามไปด้วย
ความเครียดนั้นมีกันทุกคน แต่จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาการคิดการประเมินสถานการณ์ของแต่ละคน ถ้าคิดว่าปัญหาไม่ร้ายแรงแก้ใขได้โดยง่ายๆ ก็จะไม่เครียด แต่ถ้าหากว่าปัญหานั้นยิ่งใหญ่ร้ายแรง แก้ไขลำบาก ก็จะทำให้เกิดความเครียดมาก หากว่าเรามีความเครียดในระดับที่พอดี ก็จะช่วยให้มีพลัง มีความกระตือรือร้นในการต่อสู้ชีวิต ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ได้ ซึ่งนี้เองคือข้อดีของความเครียด ไม่ใช่ว่าเครียดจะไม่มีส่วนดีเลย
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเครียดมี 2 ประการคือ
1. สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น ปัญหาเศรวษฐกิจ ปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคม ปัญหาการปรับตัว ปัญหาการเรียน ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นตัวกระตุ้นอย่างดีที่จะทำให้เกิดความเครียดได้
2. การคิดและการประเมินสถานการณ์ของบุคคล จะสังเกตได้ว่าคนทีมองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน ใจเย็น จะมีความเครียดน้อยกว่าคนที่มองโลกในแง่ร้าย เอาจริงเอาจัง ใจร้อนและวู่วาม
จากสาเหตุที่สำคัญนี้ความเครียดจะไม่เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่จะเกิดจากทั้งสองสาเหตุประกอบกันคือ จะมีสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเป็นตัวกระตุ้น แล้วมีความคิดและการประเมินการณ์เป็นตัวบ่งว่าจะเครียดมากเครียดน้อยเพียงใด เมื่อปัญหากระตุ้นให้เกิดความเครียด การลดความเครียดจึงจำเป็นที่จะต้องรู้วิธีคิดที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งวิธีคิดที่เหมาะสมได้แก่
1. คิดในแง่ดียืดหยุ่นให้มากขึ้น อย่าเอาจริงเอาจัง เข้มงวดจับผิด หรือตัดสินถูกผิดตัวเองหรือผู้อื่นตลอดเวลา รู้จักผ่อนหนักเป็นเบา ผ่อนสั้นเป็นยาว ลดทิฐิมานะและที่สำคัญควรรู้จักการให้อภัยก็จะทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น และมีความเครียดน้อยลง
2. คิดอย่างมีเหตุผล ไม่ด่วนเชื่ออะไรง่ายๆ แล้วยังสามารถตัดความกังวลใจเล็กๆไปได้ ไตร่ตรองให้รอบคอบ เพราะนอกจากจะไม่ทำให้ตกเป็นเหยื่อให้ใครหลอกเอาง่ายๆ แล้ว ยังสามารถตัดความกังวลใจเล็กๆ น้อยๆ ไปไดอีกด้วย
3. คิดหลายๆ แง่มุม มองหลายๆ ด้าน ทั้งด้านดีและไม่ดี พึงระลึกไว้เสมอว่าทุกอย่างมีข้อดีและข้อไม่ดี ประกอบกันทั้งสิ้น จึงไม่ควรมองด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียวให้ใจเป็นทุกข์ และที่สำคัญควรหัดคิดหัดมองในมุมของคนอื่นด้วย อย่างที่เขาเรียกว่าเอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็จจะช่วยให้เรามองอะไรได้กว้างไกลกวาเดิม
4. คิดแต่เรื่องดีๆ เพราะหากว่าเราคิดแต่เรื่องร้ายๆ เรื่องความล้มเหลวผิดหวังหรือเรื่องที่เป็นทุกข์ ก็จะทำให้เครียดมากขึ้น ควรคิดถึงเรื่องดีๆ ให้มากๆ นอกจากไม่ทำให้เครียดแล้วยังทำให้สบายใจมาขึ้นด้วย
5. คิดถึงคนอื่นบ้าง อย่าหมกมุ่นแต่เรื่องของตัวเองเท่านั้น เปิดใจให้กว้างรับรู้ความรู้สึกและความเป็นไปของคนอื่นและคนใกล้ชิด ใส่ใจที่จะช่วยเหลือแก้ใขปัญหาของผู้อื่นในสังคม บางครั้งพบว่าปัญหาหรือความเครียดที่กำลังเผชิญอยู่นั้นเป็นเรื่องเล็กนิดเดียว เมื่อเปรียบเทียบปัญหาของผู้อื่น ซึ่งความรู้สึกแบบนี้จะทำให้เครียดน้อยลง จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น และยิ่งถ้าสามารถช่วยให้ผู้อื่นแก้ไขปัญหาได้ก็จะทำให้สุขใจมากขึ้นเป็นทวีคูณเลยทีเคียว

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มาทำความรู้จักเมฆกันดีกว่

เมฆ คือ ละอองน้ำและเกล็ดน้ำที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนลอยตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศที่เราสามารถมองเห็นได้ ไอน้ำที่ควบแน่นเป็นละออง (โดยปกติแล้วจะมีขนาด 0.01 มม.) หรือเป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อเกาะตัวกันเป็นกลุ่มจะเป็นก้อนเมฆ ก้อนเมฆนี้จะสะท้อนคลื่นแสงในแต่ละความยาวคลื่นในช่วงที่ตามองเห็นได้ ในระดับที่เท่าๆกัน จึงทำให้เรามองเห็นก้อนเมฆนั้นเป็นสีขาว แต่ก็สามารถมองเห็นเป็นสีเทาหรือสีดำถ้าหากเมฆนั้นมีความหน่าแน่นสูงมากจนแสงผ่านไม่ได้ สิ่งที่ช่วยให้เกิดการกลั่นตัวขงไอน้ำเป็นก้อนเมฆคือ ฝุ่นผลเล็กๆ หรือเกลือในบรรยากาศที่มีคุณสมบัติดูดน้ำในบรรยากาศได้ดี เราเรียกปฏิกิริยบาที่เกิดขึ้นี้ว่า อนุภาคกลั่นตัว (Condensation nuclei) ซึ่งการกลั่นตัวของไอน้ำในบรรยากาศจะไม่เกิดขึ้นหากบรรยากาศปราศจากฝุ่นผง แม้ว่าไอน้ำจะอิ่มตัวแล้วก



วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

10 อันดับดาวแคระขาว


อันดับ 1 ก็คือหลุมดำ (Black Holes) หลุมดำกำเนิดจากการยุบตัวของดาวฤกษ์มวลมาก เมื่อสิ้นอายุขัย ความน่าพิศวงของหลุมดำก็คือ มันมีความหนาแน่นมากจนกระทั้งไม่มีสิ่งใดๆจะหลุดรอดจากแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของมันได้แม้กระทั่งแสง ปัจจุบันนักดาราศาสตร์พบหลักฐานว่าหลุมดำมีอยู่จริง และยังพบว่ามีหลุมดำยักษ์ที่เรียกว่า Supermassive Black Holes ซึ่งมักจะอยู่บริเวณใจกลางกาแล็กซี่ด้วย


อันดับ 2 โซลาร์แฟลร์ (Solar Flares) ดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะก็มีความน่าพิศวงไม่น้อย บรรยากาศของดวงอาทิตย์หรือ คอโรนา (Corona) จะมีอุณหภูมิถึง 3.6 ล้านองศาฟาเรนไฮต์ หรือ 2 ล้านองศาเซลเซียส พลังงานความร้อนที่สูงมากขนาดนี้จะสาดอนุภาคพลังงานสูงที่มีประจุไฟฟ้าให้พุ่งออกจากดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วสูงเกือบเท่าความเร็วแสง การประทุนี้เรียกว่า โซลาร์แฟลร์ ซึ่งทำให้เกิดพายุสุริยะเดินทางมาถึงชั้นบรรยากาศของโลก มันสามารถทำลายระบบสื่อสารและดาวเทียมของโลกหรือแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือได้
อันดับ 3 ซุปเปอร์โนว่า (Supenova) การระเบิดของดาวฤกษ์มวลมากที่หมดอายุขัย ซึ่งจะส่งลำแสงพลังงานสูงและสสารสู่อวกาศ และยุบตัวลงเป็นดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ ซุปเปอร์โนวามีความสว่างจ้าบนท้องฟ้าชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแม้ในเวลากลางวัน นับตั้งแต่เกิดซุปเปอร์โนวาเคปเลอร์เมื่อปี 1604 แล้ว นักดาราศาสตร์ก็ยังไม่พบซุปเปอร์โนวาที่เกิดในกาแล็กซี่ทางช้างเผือกอีกเลย

อันดับ 4 ระบบดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในกาแลกซี่ทางช้างเผือกไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวอย่างดวงอาทิตย์ แต่อยู่รวมกันเป็นระบบที่เรียกว่า Multiple – Star Systems โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งจะอยู่กันเป็นคู่ๆ ที่เรียกว่า Binary Stars นอกจากพวกมันจะอยู่รวมกันแล้ว ดาวฤกษ์เหล่านี้จะมีดาวเคราะห์เป็นบริวารด้วย นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบในปี 2005 เป็บดาวเคราะห์บริวารดวงแรกของดาวเคราะห์คู่


อันดับ 5 ดาว RRATs (Rotating Radio Transients) นักดาราศาสตร์ค้นพบคลื่นวิทยุที่ส่งมาจากดาวปริศนาหลายดวงในกาแล็กซี่ทางช้างเผือก ซึ่งจะส่งมาเป็นช่วงๆและในเวลาสั้นๆเพียง 1 ในร้อยของวินาทีเท่านั้น การศึกษาพลซาร์หรือดาวนิวตรอนที่หมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็วและปล่อยรังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมา คลื่นวิทยุและแสงสว่างออกมาเป็นจังหวะ มากกว่า 800 ดวง พบว่าไม่ใช่ต้นตอแน่นอน เพราะการส่งคลื่นวิทยุของมันแตกต่างกัน แต่ดาวปริศนานี้ก็หมุนรอบตัวเองคล้ายพัลซาร์ และเชื่อว่ามันอาจจะเป็นดาวนิวตรอนชนิดหนึ่งที่มีวิวัฒนาการแตกต่างจากดาวนิวตรอนและดาวแม็กเนตาร์หรือกำลังวิวัฒนาการจากดาวนิวตรอนไปเป็นดาวแม็กเนตาร์ก็เป็นได้

อันดับ 6 ซุปเปอร์สตาร์ จักรวาลก็มีซุปเปอร์สตาร์ มันคือดาวนิวตรอน (Neutron Stars) ซึ่งเกิดจากดาวฤกษ์มวลมาก (1.5 – 3 เท่าของดวงอาทิตย์) ระเบิดเป็นซุปเปอร์โนวาเมื่อมันเผาพลาญเชื้อเพลิงนิวเคลียร์จนหมดและยุบตัวลง ดาวนิวตรอนเป็นดาวที่มีความหนาแน่นมากที่สุด อัดแน่นไปด้วยนิวตรอนเกือบทั้งหมด เนื้อดาวขนาดซ้อนชาจะหนักถึงหนึ่งพันล้านตันบนโลกหรือมากกว่า ดาวนิวตรอนที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับเมืองเล็กๆเท่านั้น เมื่อปี 2005 นาซาตรวจพบดาวนิวตรอนสองดวงชนกัน ซึ่งปล่อยรังสีแกมมาออกมาอย่างมหาศาล มีความสว่างเท่ากับแสงของดวงอาทิตย์ถึง 100,000 ล้านล้านเท่า นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการชนกันของดาวนิวตรอนจะกลายเป็นหลุมดำในที่สุด

อันดับ 7 พัลซาร์ (Pulsar) ในปี 1999 นักดาราศาสตร์ตรวจพบรังสีเอ็กซ์และรังสีแกมมาที่ปล่อยออกมาจากดาวนิวตรอน เชื่อกันในขณะนั้นว่ามันเป็นการระเบิดซึ่งเกิดจากการสันไหวของพื้นผิวดาวนิวตรอนที่เรียกว่า Starquake คล้ายกับแผ่นดินไหวบนโลก ทว่าการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้ของ จอห์น มิดเดิลดิตซื นักวิทยาศาสตร์ของห้องทดลองแห่งชาติลอส อลามอส และทีมงานพบว่ามันเกิดจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว


อันดับ 8 กระจุกดาว ดาวฤกษ์ต่างๆในกาแล็กซี่ไม่ได้อยู่กันตามลำพังหรือเป็นคู่ๆ หรือสามสีดวงเท่านั้น แต่ยังมีดาวฤกษ์อยู่ใกล้กันเป็นกระจุกอีกด้วย บางกระจุกดาวมีดาวฤกษ์เพียงไม่กี่สิบดวง แต่บางกระจุกดาวมีดาวฤกษ์มากถึงหลายล้านดวง ดาวฤกษ์เหล่านี้กำเนิดในช่วงเวลาเดียวกันและในบริเวณเดียวกันก็จริงแต่ทำไมพวกมันจึงอยู่รวมกันเป็นกระจุก นี้เป็นปริศนาที่ยังหาคำตอบไม่ได้จนทุกวันนี้
อันดับ 9 ดาวแม็กเนตาร์ (Magnetars) คือดาวนิวตรอนชนิดหนึ่ง ความน่าพิศวงของมันก็คือ สนามแม่เหล็กของดาวแม็กเนตาร์มีพลังงานสูงกว่าสนามแม่เหล็กของโลกหลายพันล้านเท่า มันปล่อยรังสีเอ็กซ์ออกมาทุกๆ 10 วินาที และบางครั้งยังปล่อยรังสีแกมมาออกมาอีกด้วย

อันดับ 10 ดาวแคระขาว (White dwarf) ดาวฤกษ์ซึ่งมีมวลขนาดดวงอาทิตย์หรือน้อยกว่า 1.4 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ เผาผลาญเชื้อเพลิงนิวเคลียร์หมดไป ผิวนอกของมันจะระเบิดและกระจายไปในอวกาศ ส่วนแกนกลางจะยุบตัวลงกลายเป็นดาวแคระขาว นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเปลือกของดาวแคระขาวซึ่งมีความหนาราว 31 ไมล์หรือ 50 กิโลเมตร เป็นผลึกของคาร์บอนและออกซิเจน ซึ่งคล้ายกับเพชร ดาวแคระขาวจึงถูกเรียกขานว่า เพชรในอวกาศ

สแกนเนอร์ (Scanner)




สแกนเนอร์(Scanner)
สแกนเนอร์คือ อุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถเรียบเรียง เก็บรักษาและผลิตออกมากได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย ข้อความ ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สแกนเนอร์แบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ
1 สแกนเนอร์ดึงกระดาษ (Sheet – Fed Scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อยๆ เลื่อนหน้ากระดาษแผ่นนั้นให้ผ่านหัวสแกน ซึ่งอยู่กับที่ข้อจำกัดของสแกนเนอร์แบบเลื่อนกระดาษ คือสามารถอ่านภาพที่เป็นแผ่นกระดาษได้เท่านั้น ไม่สามารถอ่านภาพจากสมุดหรือหนังสือได้
2 สแกนเนอร์แท่นเรียบ (Flatbed Scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้ายๆ กับเครื่องถ่ายเอกสารเราแค่วางหนังสือหรือภาพไว้บนแผ่นกระจกใสและเมื่อทำการสแกน หัวแกนก็จะเคลื่อนที่จากปลายด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ข้อจำกัดของสแกนเนอร์แบบแท่นเรียบคือ กลไกภายในต้องใช้แสงผ่านกระจกหลายแผ่น ทำให้ภาพมีคุณภาพไม่ดีเมื่อเทียบกับแบบแรก
3 สแกนเนอร์มือถือ (Hand – Held Scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้ผู้ใช้ต้องเลื่อนหัวสแกนเนอร์ไปบนหนังสือหรือรูปภาพ สแกนเนอร์แบบมือถือได้รวมเอาข้อดีของสแกนเนอร์ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกันและมีราคาถูก เพราะกลไกที่ใช้ไม่สลับซับซ้อน แต่ก็มีข้อจำกัดตรงที่ว่าภาพที่ได้จะมีคุณภาพแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอในการเลื่อนสแกนเนอร์ของผู้ใช้งาน นอกจากนี้หัวสแกนเนอร์แบบนี้ยังมีหัวสแกนที่มีขนาดสั้น ทำให้อ่านภาพบนหน้าหนังสือขนาดใหญ่ได้ไม่ครบ 1 หน้า ทำให้ต้องอ่านหลายครั้งกว่าจะครบหนึ่งหน้า ซึ่งปัจจุบันมีซอฟต์แวร์หลายตัวที่ใช้กับสแกนเนอร์แบบมือถือ ซึ่งสามารถต่อภาพที่เกิดจากการสแกนหลายครั้งเข้าต่อกัน

เทคโนโลยีการสแกนภาพ มีดังต่อไปนี้
1 แบบ PMT (Photomultiplier Tube)
เทคโนโลยีแบบ PMT หรือ Photomultiplier tube ใช้หัวอ่านที่ทำจากหลอดสุญญากาศให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าและสามารถขยาย สัญสัญญาณได้กว่าร้อยเท่า ทำให้ภาพที่ได้มีความละเอียดสูงและมีราคาแพง
2 แบบ CIS (Contact Image Sensor)
เทคโนโลยีแบบนี้ใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์แบบสัมผัสภาพซึ่งเป็นระบบการทำงานที่ตัวรับแสงจะรับแสงที่สะท้อนกลับจากภาพมายังตัวเซนเซอร์โดยตรง ไม่ต้องผ่านกระจกเลนส์ลำแสงสีขาวที่ใช้ในการสแกนจะมี 3 หลอดสีคือ สีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว ทั้ง 3 หลอดจะสร้างแสงสีขาวขึ้นมาเพื่อใช้สแกน สำหรับสแกนเนอร์ที่ใช้ระบบ CIS นี้ ให้ความละเอียดสูงสุดได้ประมาร 600 จุดต่อนิ้วเท่านั้น ระบบนี้จะมีข้อจำกัดเรื่องของการโฟกัส คือ ไม่สามารถโฟกัสได้เกิน 0.2 มม. จึงทำให้ไม่สามารถสแกนวัตถุที่มีความลึกหรือวัตถุ 3 มิติได้
3 แบบ CCD (Charge – Coupled Deiver)
เทคโนโลยีแบบ CCD หรือ Charge – Coupled deiver ใช้หัวอ่านที่ไวต่อการรับแสงและสามารถแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า สแกนเนอร์ส่วนใหญ่ใช้เซนเซอร์แบบ CCD จึงทำให้สามารถสแกนวัตถุที่มีความลึกหรือวัตถุ 3 มิติได้ แต่รูปทรงจะมีขนาดใหญ่กว่าแบบ CIS เพื่อรองรับแผงวงจรที่ใช้พลังงานสูง การทำงานของสแกนเนอร์แบบ CCD คือกการส่องแสงไปที่วัตถุที่ต้องการสแกน เมื่อแสงสะท้อนกับวัตถุและสะท้อนกลับมาจะถูกส่งผ่านไปที่ CCD เพื่อตรวจวัดความเข้มข้นของแสงที่สะท้อนกลับออกมาจากวัตถุ และแปลงกลับมาจะถูกส่งผ่านไปที่ CCD เพิ่อตรวจวัดความเข้มข้นของแสงที่สะท้อนกลับออกมาจากวัตถุ และแปลงความเข้มของแสงให้เป็นข้อมูลทางดิจิตอล เพื่อส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์ เพื่อประมาลภาพหรือสีนั้นๆ ออกมา ในลักษณะความเข้มข้นของแสงที่ออกมาจากวัตถุ (ส่วนของสีที่มีสีเข้มจะสะท้อนแสงน้อยกว่าส่วนที่มีสีอ่อน) การทำงานของเครื่องสแกนเนอร์จะถูกควบคุมโดยซอฟแวร์ที่เรียกว่า TWAIN ซึ่งจะควบคุมการอ่านข้อมูลที่อยู่ในรูปดิจิตอลเป็นข้อมูลที่ CCD สามารถตรวจจับปริมาณความเข้มข้นของแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุนั้น แต่ในกรณีที่วัตถุนั้นเป็นลักษณะโปร่งแสง เช่น ฟิล์ม หรือแผ่นใสที่ออกมาจากเครื่องสแกนเนอร์ จะทะลุผ่านม่านวัตถุนั้นออกไป โดยจะไม่มีการสะท้อนหรือถ้ามีการสะท้อนก็จะน้อยมากจน CCD ตรวจจับความเข้มของแสงนั้นไม่ได้หรือถ้าได้ก็อาจเป็นข้อมูลที่มีความผิดเพี้ยนไป ดังนั้นการสแกนวัตถุที่มีลักษณะโปร่งแสงนั้น ต้องมีชุดหลอดไฟส่องสว่างด้านบนของวัตถุนั้น ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้ได้แก่ Transparency Unit หรือ Film Adapt

ประเภทของภาพที่เกิดจากการสแกน แบ่งเป็นประเภทดังนี้
1 ภาพ Single Bit
ภาพ Single Bit เป็นภาพที่มีความหยาบมากที่สุด ใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุดและนำมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้ แต่ข้อดีของภาพประเภทนี้คือ ใช้ทรัพยากรของเครื่องน้อยที่สุด ใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการสแกนภาพน้อยที่สุด Single – bit แบ่งออกได้สองประเภทคือ
1.1 Line Art ได้แก่ภาพที่มีส่วนประกอบเป็นภาพขาวดำ ตัวอย่างของภาพพวกนี้ ได้แก่ ภาพที่ได้จากการสเก็ต
1.2 Halftone ภาพพวกนี้จะให้สีที่เป็นโทนสีเทามากกว่า แต่โดยทั่วไปยังถูกจัดว่าเป็นภาพประเภท Single – bit เนื่องจากเป็นภาพหยาบๆ
2 ภาพ Gray Scale
ภาพพวกนี้จะมีส่วนประกอบมากกว่าภาพขาวดำ โดยจะประกอบด้วยเฉดสีเทาเป็นลำดับขั้น ทำให้เห็นรายละเอียดด้านแสง-เงา ความชัดลึกมากขึ้นกว่าเดิม ภาพพวกนี้แต่ละพิกเซลหรือแต่ละจะของภาพอาจประกอบด้วยจำนวนบิตมากกว่าต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น
3 ภาพสี
หนึ่งพิกเซลของภาพสีนั้นประกอบด้วยจำนวนบิตมหาศาล และใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมาก ความสามรถในการสแกนภาพออกมาได้ละเอียดขนาดไหนนั้นจะขึ้นอยู่กับว่าใช้สแกนเนอร์ขนาดความละเอียดเท่าไร
4 ตัวหนังสือ
ตัวหนังสือในที่นี้ได้แก่ เอกสารต่างๆ เช่น ต้องการเก็บเอกสารโดยไม่ต้องพิมพ์ลงในแฟ้มเอกสารของเวิร์ดโปรเซสเซอร์ ก็สามารถใช้สแกนเนอร์สแกนเอกสารดังกล่าว และเก็บไว้เป็นแฟ้มเอกสารได้ นอกจากนี้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถใช้ โปรแกรมที่สนับสนุน OCR (Optical Characters Recognize)มาแปลงแฟ้มภาพเป็นเอกสารดังกล่าวออกมาเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถแก้ใขได้

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ภาพถ่ายทางอากาศ


ภาพถ่ายทางอากาศ คือ รูปถ่ายของภูมิประเทศที่ได้จาการถ่ายรูปโดยนำกล้องถ่ายรูปขชึ้นไปกับอากาศยาน แล้วเปิดหน้ากล้องปล่อยให้แสงสะท้อนจากสิ่งทั้งหลายที่ปรากฏอยู่เบื้องล่างเข้าสู้เลนส์ กล้องถ่ายรูปจะผ่านกรรมวิธีล้างและอัดภาพ จะได้รูปถ่ายที่มีภาพของรายละเอียดอยู่บนพื้นผิวภูมิประเทศ ความเข้มของสิ่งต่างในรูปถ่ายทางอากาศ จะบอกถึงความแตกต่างกันทั้งทางด้านภูมิศาสตร์กายภาพ พืชพรรณธรรมชาติและก็จะเปลี่ยนไปตามฤดูกาล

ประโยชน์ของภาพถ่ายทางอากาศ

1. ใช้ภาพถ่ายทางอากาศทางยุทธวิธี ในการสำรวจลักษณะภูมิประเทศเพื่อปฏิบัติการทางทหาร ต้องใช้ภาพถ่ายสำหรับประกอบดูรายละเอียด

2. ใช้ภาพถ่ายทางอากาศเพื่อการหาข่าว ใช้ถ่ายภาพในเขตข้าศึก เพื่อหยั่งรู้แหล่งที่ตั้งโรงงานคลังอาวุธฐานทัพในดินแดนศัตรู เช่น สมัยสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกา ใช้ภาพถ่ายทางอากาศประกอบการทิ้งระเบิดในเวียดนามเหนือ

3. ใช้ภาพถ่ายทางอากาศเพื่อทำแผนที่ โดยใช้เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการทำแผนที่ประกอบการสำรวจทำให้ถูกต้อง