วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

รุ้งกินน้ำ (ทำไมถึงโค้ง)

รุ้งกินน้ำประกอบด้วยแถบสีทั้งหมด 7 แถบ คือ สีม่วง สีคราม สีน้ำเงิน สีเขียว สีเหลือง สีส้ม และสีแดง แถบสีรุ้งนี้จะปรากฏขึ้นบนท้องฟ้าในลักษณะ "โค้ง" เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เรอเน เดคาร์ตส์ นักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศล ได้อธิบายปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำ "โค้ง" ไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2180 โดยเปรียบเทียบการเกิดรุ้งกินน้ำกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อแสงตกกระทบลูกแล้วทรงกลม ซึ่งแทนหยดน้ำจริงๆ และเนื่องจากเดคาร์ตส์ได้อธิบายไว้ค่อยข้างยาวและเข้าใจยาก เคอร์รี่ เอมมานูเอล ศาสตราจารย์ ด้านอุตุนิยมวิทยา จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเมสซาซูเซ็ตต็ (MIT) จึงเรียบเรียงคำอธิบายของเดคาร์ตส์ ขึ้นมาใหม่ทำให้สามารถเข้าใจการเกิดรุ้งกินน้ำได้ง่ายขึ้น คือ เมื่อแสงตกกระทบกับหยดน้ำจะทำให้แสงเกิดการหักเหหรือโค้งงอ และที่ผ่านออกมาทางด้านหลังของหยดน้ำ ก็จะเกิดการหักเหที่มากกว่าเดิม ส่วนต่างมุมที่แสงตกกระทบและผ่านออกไปมีค่าเฉลี่ยประมาณ 42 องศา โดยที่แสงแต่ละสีจะมีการโค้งงอหรือเบี่ยงเบนต่างกัน แสงสีแดงจะมีมุมเบี่ยงเบนทิศทางมากกว่าแสงสีฟ้า ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สามารถเห็นแถบสี่รุ้งได้
สำหรับรุ้งกินน้ำที่เห็นบนท้องฟ้านั้นเกิดจากดวงอาทิตย์ตกกระทบละอองน้ำฝนจำนวนมากมายนับเป็นล้านๆหยดและผ่านออกด้วยค่ามุมเฉลี่ย 41 องศานี้ ผู้ที่ยืนอยู่ในตำแหน่งต่งางกันประมาณ 2-3 ฟุต จะเห็นรุ้งกินน้ำขึ้นในตำแหน่งเดียวกัน แต่รุ้งกินน้ำที่ทั้งสองเห็นนั้นจะไม่ใช่รุ้งกินน้ำเส้นเดียวกัน เพราะรุ้งกินน้ำที่ทั้งสองเห็นจะเกิดจากละอองน้ำฝนที่อยู่ต่างตำแหน่งกัน ส่วนสาเหตุที่รุ้งกินน้ำโค้ง ไม่เป็นเส้นตรงหรือรูปทรงอื่นๆนั้น เนื่องมาจากละอองน้ำฝนหลายๆ ละอองนั้นทำให้แสงเปลี่ยนทิศต่างกัน คือมีทั้งที่โค้งเป็นมุม 42 องศา และโค้งออกทางด้านข้างของละอองน้ำ แต่คนเราจะเห็นเพียงสีรุ้งที่โค้งขึ้นมากกว่า 42 องศาเท่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ดวงจันทร์




ดวงจันทร์ เป็นดาวบริวารเพียงดวงเดียวของโลก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3,476 กิโลเมตร หรือประมาณหนึ่งในสี่ของโลก (เป็นดาวเคราะห์บริวารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 5 ในระบบสุริยะ) และมีระยะห่างจากโลกเฉลี่ย 384,403 กิโลเมตร ดวงจันทร์มีมวลเพียงประมาณ 2 % ของมวลของโลก และแรงโน้มถ่วงเป็น 17 % ของโลก ในปี พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) นีล อาร์มสตรอง และ บัซซ์ อัลดริน นักบินอวกาศขององค์การนาซา เป็นมนุษย์ 2 คนแรกที่เหยียบลงบนพื้นดินของดวงจันทร์ กฏหมายอวกาศถือว่า ดวงจันทร์เป็นสมบัติร่วมกันขอมนุษยชาติ ตามสนธิสัญญาที่ใช้บังคับกิจกรรมของรัฐบนดวงจันทร์ ดวงดาว และวัตถุอวกาศอื่นๆ ค.ศ. 1979

วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

มลพิษทางเสียง

มลพิษทางเสียง หมายถึง ภาวะแวดล้อมที่มีเสียงที่ไม่พีงปรารถนา รบกวนโสตประสาท จนอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ไม่จำเป็นต้องเป็นเสียงดังๆเสมอไป เสียงค่อยๆที่เราไม่ต้องการก็เป็นมลพิษทางเสียงได้ เช่น เสียงบ่น หรือเสียงคนมาทวงหนี้ เป็นต้น ปกติแล้วเสียงที่ไม่พึงปรารถณานั้น เรามักมองในแง่ของการเกินขนาดขีดจำกัดและเวลา ที่นานพอที่จะก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ บางครั้งเสียงนั้นอาจไม่พอที่จะสร้างมลพิษได้ ส่วนขนาดของเสียงอาจสามารถสร้างให้เกิดปัญหากับคนๆหนึ่ง แต่กับอีกคนๆหนึ่งอาจไม่ก่อให้เกิดปัญหาก็ได้ ขึ้นอยู่กับ เพศ อายุ รูปร่าง สภาพจิตใจในตอนนั้น ฯลฯ

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วิธีคลายเครียดระหว่างทำงาน

บุคคลที่ต้องทำงานทั้งวัน อาจจะเจอกับปัญหาที่ทำให้ต้องเครียดและเมื่อสะสมไปนานๆ จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ เกร็ดน่ารู้สัปดาห์นี้มีวิธีลดทอนสารทำลายสุขภาพจิตและเพิ่มพลังสุขภาพให้สดใสตลอดสัปดาห์ดังนี้
ทานอาหารให้ตรงเวลา แม้หลายคนจะยุ่งกับการทำงานจนไม่รู้จึกหิวก็ตาม ที่สำคัญไม่ควรปล่อยให้ตัวเองหิว เพราะร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมา นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทจังก์ฟู๊ดส์ ที่ไม่ส่งผลดีต่อร่างกาย
ดื่มน้ำคลายเครียด ระหว่างวันควรมีน้ำประจำโต๊ะ และดื่มอย่างหน้อยวันละ 6-8 แก้ว จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสดชื่น กระปรี่กระเปร่า นอกจากนี้ การดื่มน้ำส้ม วันละ 2 แก้ว จะช่วยลดความดันโลหิต และช่วยสร้างสมดุลเกี่ยวกับระบบการทำงานของหัวใจได้
เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง โดยทุกๆ 2 ชั่วโมง อาจลุกเดินหรือบริหารกล้ามเนื้อ อาทิ หมุนคอ หมุนข้อเท้า ยืดแขนนั้งเอี่ยวตัวอยู่กับที่ เพื่อให้เส้นคลายตัว และลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ที่เราอาจไม่รู้ตัว
ผ่อนคลายจิตใจหลังเลิกงาน อาจทำกิจกรรมที่ชอบ อาทิ เล่นกี่ฬา ดูหนัง ฟังเพลง พูดคุยกับครอบครัว หรือไปสังสรรค์กับเพื่อน เป็นการปรับชีวิตให้สมดุลและผ่านคลาย เพื่อชาร์จพลังก่อนเริ่งทำงานอย่างมีประสิทธภาพในวันรุ่งขึ้น
ซึ่งการรีแลกซ์ระหว่างทำงานนั้น นอกจากจะช่วยผ่านคลายระบบต่างๆ ในร่างกายแล้ว สุขภาพใจก็ยังผ่องใสไปด้วย

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เทือกเขาหิมาลัย



เทือกเขาหิมาลัยเกิดจากการชนกันของขอบทวีปตรงส่วนเป็นแผ่นดิน ระหว่างอินเดียกับทวีปเอเชียจนดันเปลือกโลกให้โก่งตัวสูงขึ้นมา เทือกเขาหิมาลัยนี้เป็นที่ตั้งของยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกที่รู้จักกันดี คือ ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ และถูกพิชิตโดยนักไต่เขาชาวอังกฤษเมื่อปี 1953
เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya) เป็นเทือกเขาในทวีปเอเชีย ที่แยกอนุทวีปอินเดียทางเหนือ ออกจากที่ราบสูงทิเบตทางใต้ เป็นที่ที่มียอดเขาที่สูงที่สุดในโลก เช่น ยอดเขาเอเวอเรสต์ และยอดเขากันเจนชุงคา (Kanchenjunga) ในทางศัพท์มูลวิทยา คำว่า หิมาลัย มาจากภาษาสันสกฤต หมายถึง ที่อยู่ของหิมะ
เทือกเขาหิมาลัยทอดยาวพาดผ่านพื้นที่ของ 5 ประเทศ ได้แก่ ปากีสถาน อินเดีย จีน ภูฏาน และเนปาล ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของระบบแม่น้ำที่สำคัญของโลกหลายสาย เช่น แอ่งแม่น้ำสินธุ และแอ่งแม่น้ำคงคา แม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง พื้นที่ลุ่มน้ำของแม่น้ำหิมาลัยเป็นที่อยู่ของผู้คนราว 750 ล้านคน ซึ่งรวมถึงชาวบังคลาเทศ

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทรัพยากรแร่ธาตุ



ทรัพยากรแร่

แร่คือ ทรัพยากรธรณีที่เป็นอินทรีย์วัตถุที่เกิขึ้นตามธรรมชาติ มีส่วนประกอบทางเคมีและลักษณะทางฟิสิกส์แน่นอนหรือเปลี่ยนแปลงได้เล็กน้อย

แร่ถือว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ไม่สามารถสร้างทดแทนได้ ทั้งๆที่คุณสมบัติของแร่ธาตุเป็นสิ่งที่ทำลายให้สูญไปไม่ได้

ประเภทของทรัพยากรแร่ สามารถจำแนกออกเป็น 4 ประเภท
1. แร่โลหะ คือ แร่ที่ประกอบด้วยธาตุโลหะ เช่น แร่ดีบุก ทังสเตน ตะกั่ว เหล็ก เป็นต้น
2. แร่อโลหะ คือ แร่ที่ประกอบด้วยแร่อโลหะ มีคุณสมบัติแตกต่างจากแร่โลหะ เช่น ฟลูออไรต์ แบโรต์ ยิปซัม เกลือหิน เป็นต้น
3. แร่เชื้อเพลิง คือ แร่ที่มีสารประกอบไฮโดรคาร์บอน เช่น ถ่านหิน หินน้ำมัน น้ำมันปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ
4. แร่กัมมันตภาพรังสี เช่น แร่ยูเรเนียม เป็นต้น


แหล่งกำเนิดแร่ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1. แหล่งแร่ที่เป็นสาย มีอยู่ตามบริเวณภูเขา เกิดจากการเย็นตัวของหินอัคนี เช่น แร่โลหะจำพวกดีบุก ทังสเตน สังกะสี ฯลฯ และแร่อโรหะจำพวก ฟลูออไรด์ เป็นต้น
2. แหล่งแร่ที่แทรกตามหินชั้น เป็นแร่ที่เกิดจากการตกตะกอน หรือเกิดการทับถม แทรกอยู่ในชั้นของหินชั้น แร่ยิปซัม เกลือหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียม เป็นต้น
3. แหล่งแร่ที่เป็นก้อน เกิดจากการที่หินอัคนีผุพังลาย ทำให้แร่ที่แทรกอยู่ในหินแตกเป็นก้อนเล็กก้อนน้อย ถูกน้ำไปทับถมกันบริเวณที่ราบเชิงเขา ที่รางล่มแม่น้ำ ที่ราบชายฝั่งทะเล ที่เรียกว่าลานแร่ เช่น ลานแร่ดีบุก ลานแร่พลวง เป็นต้น

ปัญหาทรัพยากรแร่
1. การใช้แร่ไม่คุ้ม เนื่องจากขาดเทคนิคที่ถูกต้องในการขุดแร่ ทำให้ขุดแร่ได้ไม่หมด
2. การทำเหมืองแร่ การขุดแร่ การใช้แร่มีส่วนทำลายสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
3. การทำเหมืองเถื่อน ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายกับแหล่งแร่ได้

การอนุรักษ์ทรัพยากรแร่

1. ใช้แร่อย่างประหยัด และคุ้มค่า
2. ใช้วัสดุอื่นแทนแร่ธาตุ และนำแร่ธาตุกลับมาใช้ใหม่เพื่อชะลอการขุดค้นแร่มาใช้ ซึ่งจะทำให้หมดไป
3. ปรับปรุงวิธีการขุดแร่การทำเหมืองอย่างมีประสิทธิภาพ

4. ปฏิบัติตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

บัลลูน


บัลลูนอากาศร้อน เป็นอากาศยานเพื่อใช้ในการเคลื่อนที่ในอากาศได้เป็นชนิดแรกของโลก โดยมีการนำมาใช้จริงในวันที่ 21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1783 ที่ กรุงปารีส บัลลูนจะมีถึงหรือซองเก็บอากาศที่ร้อนและมีความหนาแน่นต่ำกว่าอากาศที่อยู๋นอกถึง จึงทำให้มันลอยขึ้นจากพื้นได้ ตัวถึงมักทำด้วยผ้าใบในลอนและจะเป็นถึงเปิดทางด้านล่าง เพื่อเปิดติดกับทางเข้าของความร้อนและตัวถุงมีความดันใกล้เคียงบรรยากาศภายนอกข้างใต้ถุง มักจะมีตะกร้าหรือแคปซูลเพื่อเป็นแหล่งกำเนิดความร้อน โดยใช้แก็สหรือเชื่อเพลิงร้อน โดยมีพื้นที่ในการใช้พื้นที่สำหรับผู้ควบคุมหรือผู้โดยสาร โดยใช้หลักการเคลื่อนที่ไปตามทิศทางของลมแต่ถ้าเรือเหาะชนิดอื่นๆจะมีเครื่องยนต์ในการบังคับการเคลื่อนที่และความเร็วในการเคลื่อนที่ได้

โลกร้อนต้นตอภัยพิบัติธรรมชาติ - โรคระบาด

อุณหภุมิโลกที่สูงขึ้นเป็นสาเหตุให้ เกิดภัยธรรมชาติและโรคระบาดร้ายแรงในหลายประเทศแถบเอเชียแปซิฟิก ที่ประชุมในมาเลเซียหารือเพื่อลดผลกระทบ ได้ชี้แจงว่า อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น เป็นสาเหตุให้เกิดดินถล่มเพิ่มมากขึ้นในเนปาส ไข้เลือดออกระบาดในอินโดนีเซียและน้ำท่วมในอินเดีย นอกจากนี้ยังเป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวงต่อระบบสาธารณสุขทั่วภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขมากกว่า 10 ประเทศ ซึ่งไล่ไปตั้งแต่มัลดีฟส์ถึงจีน ประชุมร่วมกันในประเทศมาเลเซีย เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาด้านสาธารณสุข ที่ประเทศเหล่านี้ประสบ ซึ่งม่สาเหตุมาจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น โดยพวกเขาหารือแนวทางทำงานร่วมกันเพื่อลดผลกระทบในภูมิภาค ซึ่งคาดว่าภัยธรรมชาติจะรุณแรงและมีโรคระบาด เช่น น้ำท่วม ภัยแล้ง คลื่นความร้อน และโรคระบาดที่เกิดจากยุงและโรคติดต่อทางน้ำ
องค์การอนามัยโลกหรือฮู ประเมินว่า การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของโลก ได้คร่าชีวิตประชากรโลกไปกว่า 1 ล้านคน ทั้งทางตรงและทางอ้อมตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งมากกว่าครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตเกิดขึ้นในเอเซีย - แปซิฟิก ภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดในโลก อย่างไรก็ตาม ตัวเลขผู้เสียชีวิตไม่ได้รวมถึงการตางที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมลพิษทางอากาศในเมืองใหญ่ ซึ่งคร่าชีวิตประชาชนทั่วโลกประมาณ 800,000 คนในแต่ละปี
บรรดานักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า ภัยแล้งจะทำให้พืชผลทางการเกษตรลดน้อยลง และขาดแคลนอาหารจะเพิ่มความรุนแรงมากขึ้นในหลายพื้นที่ พายุฝุ่นและไฟป่าจะส่งผลให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจและน้ำท่วมจากพายุที่รุนแรงจะเพิ่มยอดผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำตาย การบาดเจ็บและโรคระบาด เช่น โรคท้องร่วง การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกอาจนำไปสู่การเกิดของพืชทะเลจำพวกเห็ดราที่เป็นอันตรายมากขึ้น ซึ่งสามรถทำให้คนป่วยเมื่อกินกุ่ง หอย ปู ได้
ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลที่เป็นที่ราบต่ำ จะเผชิญหน้ากับพายุ น้ำท่วมมากขึ้น และการทะลักของน้ำเค็มเข้าไปในแหล่งน้ำจึด ที่สำคัญต่อการใช้อุปโภคบริโภค ประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชียและแอฟริกาคาดว่าจะได้รับความทุกข์ยากที่สุด

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทะเลแหวก


ทะเลแหวก หรืออีกนัยหนึ่งคือ สันทรายโผล่เพราะน้ำลด ทะเลแหวกเกิดจากสันทรายจากเกาะสามเกาะคือ เกาะไก่ เกาะหม้อ และเกาะทับ ทั้งสามเกาะนี้ตั้งอยู่ใกล้ๆ มีสันฐานติดกันเมื่อคลื่นพัดทรายมาพบกันที่จุดนี้จึงทำให้เกิดเป็นแนวสันทรายเชื่อมเกาะทั้งสามเกาะนี้ให้ถึงกัน สันทรายนี้จะจมหายไปเมื่อน้ำขึ้นสูง เมื่อน้ำลดแนวสันทรายก็จะค่อยๆโผล่ขึ้นมาเหมือนกับว่าแบ่งทะเลให้แยกออกกันเป็นสามส่วน ซึ่งสันทรายจะโผล่ในช่วงที่น้ำทะเลลดต่ำสุด แต่ถึงแม่ว่าสันทรายจะไม่โผล่เราก็สามารถเดินเล่นได้ หาดทรายของทะเลแหวกนี้ขาวสะอาดน่าเล่น ทุกครั้งที่น้ำท่วมสันทรายก็เหมือนเป็นการทำความสะอาดหาดทรายไปในตัว ขยะหรือเศษไม้ต่างๆ คลื่นซัดมาติดชายหาดก็จะหายไปตามคลื่นเมื่อน้ำขึ้น

สำหรับทะเลแหวก ควรมาชมในช่วงเวลาน้ำลงต่ำสุดในแต่ละวัน โดยเฉพาะในวันก่อน และหลังวันขึ้น 15 ค่ำ ราว 5 วัน ช่วงเวลาที่เหมาะกับการเที่ยวทะเลแหวกคือตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึง ต้นพฤษภาคม จุดเด่นของการเที่ยวชมทะเลจะแหวกคือการมาชมวิว ถ่ายภาพ ควรหลีกเลี่ยงการมาเที่ยวในช่วงวันหยุดเทศกาล ทะเลแหวกจะมีคนเยอะเดินกันจนแน่นไปหมด ถ้าจะมาชมทะเลแหวกให้ประทับใจควรเลือกมาในช่วงวันหยุดธรรมดาๆ นอกจากชมวิวถ่ายภาพทะเลแหวกแล้วที่นี่ยังเป็นอีกชายหาดหนึ่งที่น่าลงเล่นน้ำ เพราะมีแนวหาดทรายกว้าง น้ำใส ปลาเยอะ


นอกจากชมวิวถ่ายภาพทะเลแหวกแล้วที่นี่ยังเป็นอีกชายหาดหนึ่งที่น่าลงเล่นน้ำ เพราะมีแนวหาดทรายกว้าง น้ำใส ปลาเยอะ แต่ถ้าจะมาเล่นน้ำก็แนะนำให้มาในช่วงวันหยุดธรรมดา หากมาวันหยุดเทศกาลคนเยอะอาจจะไม่สนุก

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ผนังเซลล์ (cell wall)


ผนังเซลส์ (cell wall)
ผนังเซลล์เป็นส่วนนอกสุดของเซลล์พืช สาหร่าย โพรโทซัว แบคทีเรีย เห็ดรา (ไม่พบในเซลล์สัตว์) ผนังเซลล์มีหน้าที่เพิ่มความแข็งแรงให้แก่เซลล์ ส่วนประกอบที่พบคือ เส้นใยเซลลูโลสซึ่งเรียงตัวแบบไขว้กัน เป็นส่วนของเซลล์ที่ไม่มีชีวิต เมื่อเซลล์มีอายุมากขึ้นอาจมีสารอื่นมาสะสมบนเซลลูโลส เช่น เฮมิเซลลูโลส เพกทิน ซุเบอริน คิวทิน ลิกนิน ผนังเซลล์มักยอมให้สารต่างๆ ผ่านเข้าออกสะดวก มีช่องเล็กๆ ติดต่อระหว่างเซลล์ เรียกว่า พลาสโมเดสมาตา (plasmodesmata)
ผนังเซลล์พืช ประกอบด้วยชั้นต่างๆ 3 ชั้น คือ
1. ผนังเชื่อมยืดระหว่างเซลล์ เกิดขึ้นเมื่อเซลล์พืชแบ่งตัวและเป็นชั้นเชื่อมระหว่างเซลล์ ให้อยู่ติดกัน โดยมีสารพวก แคลเซียมเพกเทต แมกนีเซียมเพกเทต ลิกนินสะสมอยู่บ้าง
2. ผนังเซลล์ปฐมภูมิ เกิดเมื่อเซลล์เริ่มเจริญเติบโต ประกอบด้วยสารพวกเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่ เซลล์เนื่อเยื่อเจริญ เช่น แคมเบียมจะมีผนังเซลล์แบบปฐมภูมิเท่านั้น
3. ผนังเซลล์ทุติยภูมิ เกิดเมื่อเซลล์หยุดขยายขนาด โดยมีสรพวก เซลลูโลส ซูเบอริน ลิกนินและเพกทินมาเกาะ เช่น เซลล์ไฟเบอร์ เทรคีด เวสเซล

ดินเสื่อมโทรม

ดินเสื่อมโทรม คือ ดินที่มีสภาพเปลี่ยนไปจากเดิม และอยู่ในสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยต่อผลผลิตทางการเกษตร เนื่องจากคุณสมบัติทางด้านต่างๆ ของดินไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น สมบัติทางเคมีของดินมีสภาพเป็นกรดจัด เค็มจัด ทางด้านกายภาพของดินสูญเสียโครงสร้าง ทำให้เกิดอัดตัวแน่น ขาดความโปร่งพรุ่น ความอุดมสมบูรณ์ หรือปริมาณธาตุอาหารพึชลดลงและอยู่ในสภาวะไม่สมดุล กิจกรรมของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์เกิดขึ้นยาก ปัญหาเหล่านี้เป็นอุปสรรคและข้อจำกัดที่ส่งผลกระทบให้ผลผลิตทางการเกษตรอยู่ในระดับต่ำ สาเหตุที่ก่อให้เกิดสภาพดินเสื่อมโทรมเกิดจากการชะล้าง พังทลายของดิน และการใช้ที่ดินโดยไม่ถูกต้อง ขาดการบำรุงรักษา โดยสาเหตุสำคัญ คือ
1. สภาพทางนิเวศเปลี่ยนแปลงไป การหักล้างถาป่า และเผาป่า เพื่อมาทำการเกษตร ทำให้ดินขาดสิ่งปกคลุม การสะสมของอินทรีย์วัตถุมีน้อย อุณหภูมิของหน้าดินสูงขึ้น การละลายตัวของวัสดุอินทรีย์ต่างๆ เป็นไปรวดเร็ว เมื่อกระทบกับความแรงของฝนก็ทำให้หน้าดินอัดตัวเป็นแผ่นแข็ง การไหลซึมของน้ำลงสู่ดินชั้นล่างเป็นไปโดยยาก จึงทำให้การไหลบ่าชะล้าง สูญเสียหน้าดิน และเกิดภาวะวิกฤตฝนแล้วน้ำท่วมตามมา
2. การให้ดินไม่ถูกต้อง การทำการเกษตรโดยเพาะปลูกพืชใดพืชหนึ่งซ้ำซากติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยไม่มีการปรับปรุงดิน บำรุงดิน เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของหน้าดินลดลงอย่างรวดเร็ว ปัญหาดินเสื่อมโทรมในประเทศ ปรากฏอยู่ในสภาพดิน 3 ประเภท คือ ดินทราย ดินลูกรังกับดินตื้น และสภาพดินเหมืองแร่

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

องค์ประกอบของ GIS





องค์ประกอบหลักของระบบ GIS (Components of GIS) จัดแบ่องออกเป็น 5 ส่วนใหญ่ๆ คือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (Hardware) โปรแกรม (Software) ขั้นตอนการทำงาน (Methods) ข้อมูล (Data) และบุคลากร (People) โดยมีรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบดังต่อไปนี้


1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์คือ เครื่องคอมพิวเตอร์รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น Digitizer, Scanner, Plotterr, Printer หรืออื่นๆ เพื่อใช้ในการนำเข้าข้อมูล ประมวลผล แสดงผล และผลิตผลลัพธ์ของการทำงาน


2. โปรแกรมคือ ชุดของคำสั่งสำเร็จรูป เช่น โปรแกรม Arc/Info, MapInfo ฯลฯ ซึ่งประกอบด้วยฟังก์ชั่นการทำงานและเครื่องมือที่จำเป็นต่างๆ สำหรับนำเข้าและปรับแต่งข้อมูล จัดการระบบฐานข้อมูล เรียกค้น วิเคราะห์ และจำลองภาพ


3. ข้อมูลคือข้อมูลต่างๆ ที่จะใช้ในระบบ GIS และถูกจัดเก็บในรูปแบบของฐานข้อมูลโดยได้รับการดูแลจากระบบจัดการฐานข้อมูลหรือ DBMS ข้อมูลจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญรองลงมาจากบุคลากร


4. บุคลากรคือ ผู้ปฏิบัติงานซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เช่น ผู้นำเข้าข้อมูล ช่างเทคนิค ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญสำหรับวิเคราะห์ข้อมูล ผู้บริหารซึ่งต้องใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ บุคลากรจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบ GIS เนื่องจากถ้าขากบุคลากร ข้อมูลที่มีอยู่มากมายมหาศาลนั้นก็จะเป็นเพียงขยะไม่มีคุณค่าใดเลย เพราะไม่ได้ถูกนำไปใช้งาน อาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าขาดบุคลากรก็จะไม่มีระบบ GIS


5. วิธีการหรือขั้นตอนการทำงานคือ วิธีการที่องค์กรนั้นๆ นำเอาระบบ GIS ไปใช้งานโดยแต่ละระบบแต่ละองค์กรย่อมมีความแตกต่างกันออกไป ฉะนั้นผู้ปฏิบัติงานต้องเลือกวิธีการในการจัดการกับปัญหาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับของหน่วยงานนั้นๆ เอง


ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับ
ข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ หรือจะกล่าวอย่างง่ายๆก็ได้ว่าเป็นการจัดการฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของ ตารางข้อมูลและฐานข้อมูบที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับช่วงเวลาได้ ใช้เป็นชุดของเครื่องมือที่มีความสามารถในการเก็บรวบรวมข้อมูลรักษาข้อมูลและการค้นคืนข้อมูล เพื่อจัดเตรียมและปรับแต่งข้อมูล เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และการแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์การใช้งาน เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้านถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมายนำไปใช้งานได้ง่าย

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เสาเฉลียง




เสาเฉลียง ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เกิดจากการกระทร่วมกันของอุณหภูมิ กระแสลม การกัดเซาะของน้ำ มีลีกษณะเป็นแท่งหินรูปดอกเห็ดขนาดใหญ่หลายแห่ง มีความสูงประมาณ 5 - 7 เมตร ส่วนใหญ่เป็นหินทราย

กระบวนการเกิด เสาเฉลียงเกิดจากการผุพังสลายตัวของหินทราย ซึ่งต้องใช้เวลานานนับล้านๆ ปี โดยการกระทำร่วมกันของอุณหภูมิของอากาศ ซึ่งอากาศจะร้อนในเวลากลางวันและอากาศจะเย็นในเวลากลางคืน เป็นสาเหตุที่ทำให้หินเกิดรอยแตกแยก ต่อมาเกิดการกัดเซาะของน้ำและการพัดพาของกระแสลม จนกลายเป็นเสาเฉลียงหรือแท่งหินรูปดอกเห็ดที่เราเห็นในปัจจุบัน


วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แพะเมืองผี





ลักษณะทั่วไป : วนอุทยานแพะเมืองผีมีสภาพเป็นป่าบนที่ราบลอนคลื่น สภาพสูงๆ ต่ำๆ ไม่สม่ำเสมอ มีลักษณะเป็นเนินเตี้ยๆ จะมีเสาดินรูปร่างประหลาดเกิดจากกระบวนการทำของน้ำไหลและชะชั้นดินที่มีความแข็งไม่เท่ากัน นักธรณีวิทยาประมาณค่าอายุของดินแห่งนี้ว่าอยู่ในยุค Quaternary ซึ่งเป็นยุคค่อนข้างใหม่ มีอายุตั้งแต่ 15 ล้านปี จนถึงปัจจุบัน

ลักษณะการเกิด : การเกิดของเสาดินเกิดจากหินเซมิคอนโซลิเดเตด คือ หินที่ยังแข็งตัวไม่เต็มที่ประกอบด้วยชั้นดินทราย (Siltstone) ชั้นหินทราย (Sandstone) สบับกันเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมีความต้านทานต่อการผุพังไม่เท่ากัน เมื่อถูกน้ำฝนชะซึมสู่ชั้นหินที่มีความต้านทานต่อการผุพังน้อยกว่า ก็จะถูกกร่อนโดยง่ายเหลือชั้นที่มีความต้านทานต่อการผุพังมากกว่า ทำนหน้าที่เสมือนแผ่นเกราะวางอยู่ข้างบน ทำให้น้ำม่สามารถชะกร่อนต่อไปได้ง่าย ส่วนที่เหลือให้เห็นอยู่โดยการเกิดลักษณะนี้ จึงมีรูปร่างเป็นหย่อมแตกต่างกัน




วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ความรู้อุตุนิยมวิทยา

การพยากรณ์อากาศ หมายถึง การคาดถึงสภาพลมฟ้าอากาศในอนาคต ซึ่งจะมีองค์ประกอบ 3 ประการ ประการแรกคือความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์และกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ ประกาศที่สองคือสภาวะอากาศปัจจุบัน และประการสุดท้ายคือความสามารถที่จะผสมผสานองค์ประกอบทั้งสองข้างต้น เข้าด้วยกันเพื่อคาดหมายการ เปลี่ยนแปลงของบรรยากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ซึ่งความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์และกระบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ เราได้มาจากการเฝ้าสังเกตและบันทึกไว้การที่จะพยากรณ์อากาศในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ต้องใช้ข้อมูลผลการตรวจอากาศในบริเวณนั้นร่วมกับผลการตรวจอากาศจากบริเวณที่อยู่โดยรอบด้วย เพราะปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา สิ่งที่เกิดขึ้นนอกจากพื้นที่การพยากรณ์อาจเคลื่อนตัวมามีผลต่อสภาพอากาศในบริเวณที่จะพยากรณ์ได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลผลการตรวจอากาศระหว่างประเทศ เพื่อให้ได้ข้อมูลเพียงพอสำหรับการพยากรณ์อากาศ ในปัจจุบันการตรวจอากาศที่ช่วยให้การพยากรณ์แม่นยำยิ่งขึ้นคือ การตรวจอากาศด้วยเรดาร์และดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา เมื่อมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องราวของลมฟ้าอากาศ และมีข้อมูลผลการตรวจอากาศแล้ว สิ่งที่ต้องทำเพื่อให้สามารถพยากรณ์อากาศได้ คือการวิเคราะห์ข้อมูลผลการตรวจอากาศเพื่อให้ทราบลักษณะอากาศปัจจุบัน และการคาดหมายการเปลี่ยนแปลงของลักษณะอากาศในวันต่อไป

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทักทาย

สวัสดีค่ะ

น.ส.สุนทรี พลมาก รหัสนิสิต 50163781

นิสิตสาขาภูมิศาสตร์รุ่นที่ 26 ชั้นปีที่ 3