วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

การโมเสคภาพ (Mosaic) และตกแต่งภาพ

โมเสคภาพ (Mosaic) และตกแต่งภาพ
การเชื่อมต่อข้อมูลภาพ (Mosaic) เป็นการเชื่อมต่อหรือซ้อนภาพหลายภาพเข้าด้วยกัน เพื่อรวมกันเป็นภาพเดียว ซึ่งจะทำให้ภาพที่ได้ใหม่มีขนาดของข้อมูลใหญ่ขึ้น กระบวนการในการเชื่อมต่อข้อมูลภาพนี้เราเรียกว่า Mosaic ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้สร้างภาพเพียงภาพเดียวจากข้อมูลดาวเทียมในบริเวณที่ติดกันหรือใกล้เคียงกันหลายๆ ภาพ การทำโมเสคจะได้ภาพใหม่ที่มีการลดหรือขจัดความแตกต่างระหว่างภาพในส่วนที่มีการซ้อนทับกัน (Overlap) ในบริเวณรอยต่อของทั้งสองภาพ เพื่อไม่ให้มีความเข้มระดับสีเทาที่แตกต่างกันมากนัก สำหรับข้อมูลภาพที่จะนำมาโมเสค ข้อมูลภาพทั้ง 2 จะต้องมีขนาดของจุดภาพ (Pixel size) เท่ากันและระบบตำแหน่งพิดกัดของภาพเหมือนกันหลังจากที่มีการปรับแก้ทางเรขาคณิตแล้ว ขั้นตอนในการโมเสค หลังจากที่นำภาพทั้ง 2 ซ้อนทับเข้าด้วยกัน บริเวณที่ซ้อนทับกันของภาพจะต้องมีการกำหนดตำแหน่งพิกัดใหม่โดยใช้จุดควบคุมทางภาคพื้นดิน (GCPs) เพื่อให้แต่ละจุดภาพมีการปรับแก้ทางตำแหน่งตรงกัน จากนั้นจะทำการกำจัดจุดภาพที่ซ้ำซ้อน (Duplicate pixel) ที่อยู่ภายในบริเวณ overlap ของภาพทั้ง 2 ออกไปให้เหลือเพียงจุดภาพชุดเดียว แล้วทำการยึดค่าความคมชัดที่เหมาะสมกับจุดภาพทั้งหมดของข้อมูลภาพทั้งสองให้พร้อมกัน เพื่อให้ได้ภาพใหม่มีระดับความเข้มที่สม่ำเสมอตลอดทั้งภาพ

การประยุกต์ใช้ขอมูลรีโมทเซนซิงในประเทศไทย


การสำรวจข้อมูลจากระยะไกลมีประโยชน์ในการนำมาใช้เพื่อแปลตีความและวิเคราะห์หาข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้ รวมตลอดถึงสามารถใช้ในการสำรวจสภาพความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาด้วย โดยจะได้ผลการสำรวจในรูปของแผนที่ ซึ่งสามารถนำมาศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิเคราะห์ และประเมินผล เพื่อหาภูมิประเทศต่อไปได้ในปัจจุบันวิทยาการสาขาต่างๆ ที่ได้มีการนำข้อมูลการสำรวจระยะไกลมาใช้ประโยชน์ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ป่าไม้
การติดตามตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศพบว่า ในปี พ.ศ. 2516 มีพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 43.20 ของประเทศ ส่วนปี 2543 เหลือเพียงร้อยละ 33.33 โดยเฉพาะในเขตพืนที่ป่าต้นน้ำลำธาร นอกจากนี้ยังนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมมาประยุกต์ใช้ในด้านการจแนกชนิดของป่า สำรวจหาพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์และป่าเสื่อมโทรมทั่วประเทศ การศึกษาด้านไฟป่า การหาพื้นที่เหมาะสำรหรับการปลูกสร้างสวนป่าทดแทนบริเวณพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกบุกรุก
2. การเกษตร การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมทางด้านการเกษตรส่วนใหญ่จะใช้ศึกษาหาพื้นที่เพาะปลูกของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ข้าวนาปี ข้าวนาปัง สวนยางพารา สับปะรด อ้อย และ ข้าวโพด การสำรวจตรวจสอบสภาพของพืชที่ปลูก การเปลี่ยนแปลงบริเวณเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ตลอดจนการกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตร
3. การใช้ที่ดิน
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบต่างๆ เช่น การทำเกษตรกรรม เหมืองแร่ การก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย สำรวจและวางแผนการใช้ที่ดิน การจำแนกความเหมาะสมดิน (Land Suitability) ตลอดจนการจัดทำแผนที่แสดงขอบเขตการใช้ที่ดินแต่ละประเภท ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วตาม ฤดูกาลและสภาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
4. ธรณีวิทยาและธรณีสัณฐาน
การจัดทำแผนที่ภูมิสันฐานวิทยาและแผนที่ภูมิพฤษศาตร์ (Mapping geomorphology and gebtany) แผนที่ธรณีวิทยา (Geology map) ตรวจสอบภาวะธรรมชาติของดิน หินและบริเวณเกิดแผ่นดินไหว การวิเคราะห์ธรณีสันฐานและการระบายน้ำ (Landform and drainage analysis) ธรณีโคร้างสร้างของประเทศไทยซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสนับสนุนในการพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ เช่น การหาแหล่งแร่ แหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ แหล่งน้ำบาดาล การสร้างเขื่อน เป็นต้น
5. อุทกวิทยา
การศึกษาในด้านอุทกวิทยา อาจรวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับ อุทกภาพ ซึ่งหมายถึงแหล่งน้ำทั้งบนบก ในทะเล น้ำบนดินและน้ำใต้ผิวดิน ซึ่งรวมไปถึงแหล่งน้ำ ปริมาณ คุณภาพ ทิศทางการไหล การหมุนเวียน ตลอดจนองค์ประกอบอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับทรัพยากรน้ำ ภาพถ่ายดาวเทียมจะให้ข้อมูลแหล่งที่ตั้ง รูปร่าง และขนาดของแหล่งน้ำผิวดินเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้ข้อมูลดาวเทียมสำหรับติดตามประเมินผลการบำรุงรักษาระบบและการจัดสรรน้ำของโครงการชลประทานต่างๆ การศึกษาด้านการใช้น้ำแลการบำรุ่งรักษเขื่อน รวมทั้งการสำรวจบริเวรที่ราบที่จะเกิดน้ำท่วมและสภาวะทน้ำท่วม
6. สมุทรศาสตร์
ศึกษาเกี่ยวกับการไหลเวียนของน้ำทะเล ตะกอนในทะเลและคุณภาพของน้ำบริเวณชายฝั่ง เช่น การแพ่กระจายของตะกอนแขวนลอยที่เกิดจากกิจกรรมเหมืองแร่ในทะเล นอกจากนี้ได้ศึกษาการแพร่กระจายของตะกอนบริเวณปากแม่น้ำต่างๆ ของอ่าวไทย รวมทั้งการติดตามการพังทลายของชายฝั่งทะเล
7. ภัยพิบัติธรรมชาติ
ประเทศไทยมักประสบปัญหาเกี่ยวกับอุบัติภัยทางธรรมชาติ เช่น อุทกภัย วาตภัย และแผ่นดินถล่ม เป็นต้น ซึ่งภาพจากดาวเทียมช่วยทำให้เราทราบขอบเขตบริเวณที่เกิดอุบัติภัยได้รวดเร็ว รวททั้งช่วยในการติดตามและประเมินผลเสียหายเบื้องต้นเกี่ยวกับอุบัติภัยต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนการชวยเหลือและฟื้นฟูต่อไปได้ ตัวอย่างเช่น อุทกภัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี่ พ.ศ. 2531 วาตภัยที่จังหวัดชุมพร เมื่อปี พ.ศ. 2532 และแผ่นดินถล่มบริเวณ ตำบลน้ำก้อและน้ำชุนจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2543
8. วางผังเมือง
ปัจจุบันภาพถ่ายดาวเทียมมีความละเอียดเชิงพื้นที่เทียบเท่ากับภาพถ่ายทางอากาศ เช่น ภาพจากดาวเทียม IKONOS ที่มีความละเอียด 1 เมตร ซึ่งเหมาะสมในการประยุกต์ใช้ในการวางผังเมืองของชุมชนที่อยู่ในเมืองขนาดใหญ่ และการเคลื่อนย้ายเมืองที่มีความแออัดไปอยู่ในที่แห่งใหม่ ตลอดจนการออกแบบถนนหลวง ไฟฟ้า ประปา และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ให้เหมาะสม
9. การประมง
ใช้ในการสำรวจหาพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประเภทต่างๆ รวมถึงการหาแหล่งที่อยู่อาศัยของปะการังใต้ทะเล การกระจายตัวของแพลงตอนพืชและสัตว์
10. สิ่งแวดล้อม
ใช้ในการตรวจสอบน้ำเสียที่ไหลลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง ตรวจสอบบริเวณที่ครอบคลุมด้วยควันพิษ ตรวจดูผลเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ หรือตรวจสอบสภาวะความเข้มข้นของแก๊สต่างๆ ในชั้นบรรยากาศ
11. การทำแผนที่
ภาพถ่ายดาวเทียมเป็นภาพที่ทันสมัยที่สุดสามารถนำไปแก้ไขแผนที่ภูมิประเทศได้อย่างรวดเร็ว มีความถูกต้องเป็นที่ยอมรับ เช่น ภาพจากดาวเทียม QuickBird ที่มีรายละเอียดเชิงพื้นที่เท่ากับ 61 เซนติเมตร ทำให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องทางตำแหน่งและรูปทรงเรขาคณิตในระดับสูง นอกจากนี้ภาพถ่ายดาวเทียมสามารถแสดงลักษณะภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนเส้นทางคมนาคม หรือสิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้ได้แผนที่ที่ทันสมัยเพื่อการวางแผนที่รวดเร็วและถูกต้องยิ่งขึ้น

คิดอย่างไรไม่ให้เครียด

เดรียด เป็นภาระที่ทุกคนไม่อยากประสบพบพาน แต่คงไม่มีใครที่ไม่เคยเครียด ดังนั้นมาทำความรู้จักกับความเครียด และวิธีการคิดเพื่อที่จะได้ไม่เครียดกันดีกว่า
ความเครียด เป็นเรื่องของร่างกายและจิตใจ ที่เกิดจากการตื่นตัวเตรียมรับกับสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งคาดว่าเป็นเรื่องที่เกินกำลังความสามารถที่จะแก้ไขได้ ทำใหเรารู้สึกหนักใจ เป็นทุกข์และส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติทั้งทางร่างกายและจิตใจตามไปด้วย
ความเครียดนั้นมีกันทุกคน แต่จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาการคิดการประเมินสถานการณ์ของแต่ละคน ถ้าคิดว่าปัญหาไม่ร้ายแรงแก้ใขได้โดยง่ายๆ ก็จะไม่เครียด แต่ถ้าหากว่าปัญหานั้นยิ่งใหญ่ร้ายแรง แก้ไขลำบาก ก็จะทำให้เกิดความเครียดมาก หากว่าเรามีความเครียดในระดับที่พอดี ก็จะช่วยให้มีพลัง มีความกระตือรือร้นในการต่อสู้ชีวิต ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ได้ ซึ่งนี้เองคือข้อดีของความเครียด ไม่ใช่ว่าเครียดจะไม่มีส่วนดีเลย
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเครียดมี 2 ประการคือ
1. สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น ปัญหาเศรวษฐกิจ ปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคม ปัญหาการปรับตัว ปัญหาการเรียน ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นตัวกระตุ้นอย่างดีที่จะทำให้เกิดความเครียดได้
2. การคิดและการประเมินสถานการณ์ของบุคคล จะสังเกตได้ว่าคนทีมองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน ใจเย็น จะมีความเครียดน้อยกว่าคนที่มองโลกในแง่ร้าย เอาจริงเอาจัง ใจร้อนและวู่วาม
จากสาเหตุที่สำคัญนี้ความเครียดจะไม่เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่จะเกิดจากทั้งสองสาเหตุประกอบกันคือ จะมีสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเป็นตัวกระตุ้น แล้วมีความคิดและการประเมินการณ์เป็นตัวบ่งว่าจะเครียดมากเครียดน้อยเพียงใด เมื่อปัญหากระตุ้นให้เกิดความเครียด การลดความเครียดจึงจำเป็นที่จะต้องรู้วิธีคิดที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งวิธีคิดที่เหมาะสมได้แก่
1. คิดในแง่ดียืดหยุ่นให้มากขึ้น อย่าเอาจริงเอาจัง เข้มงวดจับผิด หรือตัดสินถูกผิดตัวเองหรือผู้อื่นตลอดเวลา รู้จักผ่อนหนักเป็นเบา ผ่อนสั้นเป็นยาว ลดทิฐิมานะและที่สำคัญควรรู้จักการให้อภัยก็จะทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น และมีความเครียดน้อยลง
2. คิดอย่างมีเหตุผล ไม่ด่วนเชื่ออะไรง่ายๆ แล้วยังสามารถตัดความกังวลใจเล็กๆไปได้ ไตร่ตรองให้รอบคอบ เพราะนอกจากจะไม่ทำให้ตกเป็นเหยื่อให้ใครหลอกเอาง่ายๆ แล้ว ยังสามารถตัดความกังวลใจเล็กๆ น้อยๆ ไปไดอีกด้วย
3. คิดหลายๆ แง่มุม มองหลายๆ ด้าน ทั้งด้านดีและไม่ดี พึงระลึกไว้เสมอว่าทุกอย่างมีข้อดีและข้อไม่ดี ประกอบกันทั้งสิ้น จึงไม่ควรมองด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียวให้ใจเป็นทุกข์ และที่สำคัญควรหัดคิดหัดมองในมุมของคนอื่นด้วย อย่างที่เขาเรียกว่าเอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็จจะช่วยให้เรามองอะไรได้กว้างไกลกวาเดิม
4. คิดแต่เรื่องดีๆ เพราะหากว่าเราคิดแต่เรื่องร้ายๆ เรื่องความล้มเหลวผิดหวังหรือเรื่องที่เป็นทุกข์ ก็จะทำให้เครียดมากขึ้น ควรคิดถึงเรื่องดีๆ ให้มากๆ นอกจากไม่ทำให้เครียดแล้วยังทำให้สบายใจมาขึ้นด้วย
5. คิดถึงคนอื่นบ้าง อย่าหมกมุ่นแต่เรื่องของตัวเองเท่านั้น เปิดใจให้กว้างรับรู้ความรู้สึกและความเป็นไปของคนอื่นและคนใกล้ชิด ใส่ใจที่จะช่วยเหลือแก้ใขปัญหาของผู้อื่นในสังคม บางครั้งพบว่าปัญหาหรือความเครียดที่กำลังเผชิญอยู่นั้นเป็นเรื่องเล็กนิดเดียว เมื่อเปรียบเทียบปัญหาของผู้อื่น ซึ่งความรู้สึกแบบนี้จะทำให้เครียดน้อยลง จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น และยิ่งถ้าสามารถช่วยให้ผู้อื่นแก้ไขปัญหาได้ก็จะทำให้สุขใจมากขึ้นเป็นทวีคูณเลยทีเคียว

วันเสาร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มาทำความรู้จักเมฆกันดีกว่

เมฆ คือ ละอองน้ำและเกล็ดน้ำที่รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนลอยตัวอยู่ในชั้นบรรยากาศที่เราสามารถมองเห็นได้ ไอน้ำที่ควบแน่นเป็นละออง (โดยปกติแล้วจะมีขนาด 0.01 มม.) หรือเป็นเกล็ดน้ำแข็ง ซึ่งเมื่อเกาะตัวกันเป็นกลุ่มจะเป็นก้อนเมฆ ก้อนเมฆนี้จะสะท้อนคลื่นแสงในแต่ละความยาวคลื่นในช่วงที่ตามองเห็นได้ ในระดับที่เท่าๆกัน จึงทำให้เรามองเห็นก้อนเมฆนั้นเป็นสีขาว แต่ก็สามารถมองเห็นเป็นสีเทาหรือสีดำถ้าหากเมฆนั้นมีความหน่าแน่นสูงมากจนแสงผ่านไม่ได้ สิ่งที่ช่วยให้เกิดการกลั่นตัวขงไอน้ำเป็นก้อนเมฆคือ ฝุ่นผลเล็กๆ หรือเกลือในบรรยากาศที่มีคุณสมบัติดูดน้ำในบรรยากาศได้ดี เราเรียกปฏิกิริยบาที่เกิดขึ้นี้ว่า อนุภาคกลั่นตัว (Condensation nuclei) ซึ่งการกลั่นตัวของไอน้ำในบรรยากาศจะไม่เกิดขึ้นหากบรรยากาศปราศจากฝุ่นผง แม้ว่าไอน้ำจะอิ่มตัวแล้วก



วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

10 อันดับดาวแคระขาว


อันดับ 1 ก็คือหลุมดำ (Black Holes) หลุมดำกำเนิดจากการยุบตัวของดาวฤกษ์มวลมาก เมื่อสิ้นอายุขัย ความน่าพิศวงของหลุมดำก็คือ มันมีความหนาแน่นมากจนกระทั้งไม่มีสิ่งใดๆจะหลุดรอดจากแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของมันได้แม้กระทั่งแสง ปัจจุบันนักดาราศาสตร์พบหลักฐานว่าหลุมดำมีอยู่จริง และยังพบว่ามีหลุมดำยักษ์ที่เรียกว่า Supermassive Black Holes ซึ่งมักจะอยู่บริเวณใจกลางกาแล็กซี่ด้วย


อันดับ 2 โซลาร์แฟลร์ (Solar Flares) ดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะก็มีความน่าพิศวงไม่น้อย บรรยากาศของดวงอาทิตย์หรือ คอโรนา (Corona) จะมีอุณหภูมิถึง 3.6 ล้านองศาฟาเรนไฮต์ หรือ 2 ล้านองศาเซลเซียส พลังงานความร้อนที่สูงมากขนาดนี้จะสาดอนุภาคพลังงานสูงที่มีประจุไฟฟ้าให้พุ่งออกจากดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วสูงเกือบเท่าความเร็วแสง การประทุนี้เรียกว่า โซลาร์แฟลร์ ซึ่งทำให้เกิดพายุสุริยะเดินทางมาถึงชั้นบรรยากาศของโลก มันสามารถทำลายระบบสื่อสารและดาวเทียมของโลกหรือแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือได้
อันดับ 3 ซุปเปอร์โนว่า (Supenova) การระเบิดของดาวฤกษ์มวลมากที่หมดอายุขัย ซึ่งจะส่งลำแสงพลังงานสูงและสสารสู่อวกาศ และยุบตัวลงเป็นดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ ซุปเปอร์โนวามีความสว่างจ้าบนท้องฟ้าชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าแม้ในเวลากลางวัน นับตั้งแต่เกิดซุปเปอร์โนวาเคปเลอร์เมื่อปี 1604 แล้ว นักดาราศาสตร์ก็ยังไม่พบซุปเปอร์โนวาที่เกิดในกาแล็กซี่ทางช้างเผือกอีกเลย

อันดับ 4 ระบบดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์ส่วนใหญ่ในกาแลกซี่ทางช้างเผือกไม่ได้อยู่โดดเดี่ยวอย่างดวงอาทิตย์ แต่อยู่รวมกันเป็นระบบที่เรียกว่า Multiple – Star Systems โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งจะอยู่กันเป็นคู่ๆ ที่เรียกว่า Binary Stars นอกจากพวกมันจะอยู่รวมกันแล้ว ดาวฤกษ์เหล่านี้จะมีดาวเคราะห์เป็นบริวารด้วย นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบในปี 2005 เป็บดาวเคราะห์บริวารดวงแรกของดาวเคราะห์คู่


อันดับ 5 ดาว RRATs (Rotating Radio Transients) นักดาราศาสตร์ค้นพบคลื่นวิทยุที่ส่งมาจากดาวปริศนาหลายดวงในกาแล็กซี่ทางช้างเผือก ซึ่งจะส่งมาเป็นช่วงๆและในเวลาสั้นๆเพียง 1 ในร้อยของวินาทีเท่านั้น การศึกษาพลซาร์หรือดาวนิวตรอนที่หมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็วและปล่อยรังสีเอ็กซ์ รังสีแกมมา คลื่นวิทยุและแสงสว่างออกมาเป็นจังหวะ มากกว่า 800 ดวง พบว่าไม่ใช่ต้นตอแน่นอน เพราะการส่งคลื่นวิทยุของมันแตกต่างกัน แต่ดาวปริศนานี้ก็หมุนรอบตัวเองคล้ายพัลซาร์ และเชื่อว่ามันอาจจะเป็นดาวนิวตรอนชนิดหนึ่งที่มีวิวัฒนาการแตกต่างจากดาวนิวตรอนและดาวแม็กเนตาร์หรือกำลังวิวัฒนาการจากดาวนิวตรอนไปเป็นดาวแม็กเนตาร์ก็เป็นได้

อันดับ 6 ซุปเปอร์สตาร์ จักรวาลก็มีซุปเปอร์สตาร์ มันคือดาวนิวตรอน (Neutron Stars) ซึ่งเกิดจากดาวฤกษ์มวลมาก (1.5 – 3 เท่าของดวงอาทิตย์) ระเบิดเป็นซุปเปอร์โนวาเมื่อมันเผาพลาญเชื้อเพลิงนิวเคลียร์จนหมดและยุบตัวลง ดาวนิวตรอนเป็นดาวที่มีความหนาแน่นมากที่สุด อัดแน่นไปด้วยนิวตรอนเกือบทั้งหมด เนื้อดาวขนาดซ้อนชาจะหนักถึงหนึ่งพันล้านตันบนโลกหรือมากกว่า ดาวนิวตรอนที่มีมวลมากกว่าดวงอาทิตย์จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับเมืองเล็กๆเท่านั้น เมื่อปี 2005 นาซาตรวจพบดาวนิวตรอนสองดวงชนกัน ซึ่งปล่อยรังสีแกมมาออกมาอย่างมหาศาล มีความสว่างเท่ากับแสงของดวงอาทิตย์ถึง 100,000 ล้านล้านเท่า นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการชนกันของดาวนิวตรอนจะกลายเป็นหลุมดำในที่สุด

อันดับ 7 พัลซาร์ (Pulsar) ในปี 1999 นักดาราศาสตร์ตรวจพบรังสีเอ็กซ์และรังสีแกมมาที่ปล่อยออกมาจากดาวนิวตรอน เชื่อกันในขณะนั้นว่ามันเป็นการระเบิดซึ่งเกิดจากการสันไหวของพื้นผิวดาวนิวตรอนที่เรียกว่า Starquake คล้ายกับแผ่นดินไหวบนโลก ทว่าการศึกษาเมื่อเร็วๆนี้ของ จอห์น มิดเดิลดิตซื นักวิทยาศาสตร์ของห้องทดลองแห่งชาติลอส อลามอส และทีมงานพบว่ามันเกิดจากการหมุนรอบตัวเองอย่างรวดเร็ว


อันดับ 8 กระจุกดาว ดาวฤกษ์ต่างๆในกาแล็กซี่ไม่ได้อยู่กันตามลำพังหรือเป็นคู่ๆ หรือสามสีดวงเท่านั้น แต่ยังมีดาวฤกษ์อยู่ใกล้กันเป็นกระจุกอีกด้วย บางกระจุกดาวมีดาวฤกษ์เพียงไม่กี่สิบดวง แต่บางกระจุกดาวมีดาวฤกษ์มากถึงหลายล้านดวง ดาวฤกษ์เหล่านี้กำเนิดในช่วงเวลาเดียวกันและในบริเวณเดียวกันก็จริงแต่ทำไมพวกมันจึงอยู่รวมกันเป็นกระจุก นี้เป็นปริศนาที่ยังหาคำตอบไม่ได้จนทุกวันนี้
อันดับ 9 ดาวแม็กเนตาร์ (Magnetars) คือดาวนิวตรอนชนิดหนึ่ง ความน่าพิศวงของมันก็คือ สนามแม่เหล็กของดาวแม็กเนตาร์มีพลังงานสูงกว่าสนามแม่เหล็กของโลกหลายพันล้านเท่า มันปล่อยรังสีเอ็กซ์ออกมาทุกๆ 10 วินาที และบางครั้งยังปล่อยรังสีแกมมาออกมาอีกด้วย

อันดับ 10 ดาวแคระขาว (White dwarf) ดาวฤกษ์ซึ่งมีมวลขนาดดวงอาทิตย์หรือน้อยกว่า 1.4 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ เผาผลาญเชื้อเพลิงนิวเคลียร์หมดไป ผิวนอกของมันจะระเบิดและกระจายไปในอวกาศ ส่วนแกนกลางจะยุบตัวลงกลายเป็นดาวแคระขาว นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเปลือกของดาวแคระขาวซึ่งมีความหนาราว 31 ไมล์หรือ 50 กิโลเมตร เป็นผลึกของคาร์บอนและออกซิเจน ซึ่งคล้ายกับเพชร ดาวแคระขาวจึงถูกเรียกขานว่า เพชรในอวกาศ

สแกนเนอร์ (Scanner)




สแกนเนอร์(Scanner)
สแกนเนอร์คือ อุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถเรียบเรียง เก็บรักษาและผลิตออกมากได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย ข้อความ ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สแกนเนอร์แบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ
1 สแกนเนอร์ดึงกระดาษ (Sheet – Fed Scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อยๆ เลื่อนหน้ากระดาษแผ่นนั้นให้ผ่านหัวสแกน ซึ่งอยู่กับที่ข้อจำกัดของสแกนเนอร์แบบเลื่อนกระดาษ คือสามารถอ่านภาพที่เป็นแผ่นกระดาษได้เท่านั้น ไม่สามารถอ่านภาพจากสมุดหรือหนังสือได้
2 สแกนเนอร์แท่นเรียบ (Flatbed Scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้ายๆ กับเครื่องถ่ายเอกสารเราแค่วางหนังสือหรือภาพไว้บนแผ่นกระจกใสและเมื่อทำการสแกน หัวแกนก็จะเคลื่อนที่จากปลายด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ข้อจำกัดของสแกนเนอร์แบบแท่นเรียบคือ กลไกภายในต้องใช้แสงผ่านกระจกหลายแผ่น ทำให้ภาพมีคุณภาพไม่ดีเมื่อเทียบกับแบบแรก
3 สแกนเนอร์มือถือ (Hand – Held Scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้ผู้ใช้ต้องเลื่อนหัวสแกนเนอร์ไปบนหนังสือหรือรูปภาพ สแกนเนอร์แบบมือถือได้รวมเอาข้อดีของสแกนเนอร์ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกันและมีราคาถูก เพราะกลไกที่ใช้ไม่สลับซับซ้อน แต่ก็มีข้อจำกัดตรงที่ว่าภาพที่ได้จะมีคุณภาพแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอในการเลื่อนสแกนเนอร์ของผู้ใช้งาน นอกจากนี้หัวสแกนเนอร์แบบนี้ยังมีหัวสแกนที่มีขนาดสั้น ทำให้อ่านภาพบนหน้าหนังสือขนาดใหญ่ได้ไม่ครบ 1 หน้า ทำให้ต้องอ่านหลายครั้งกว่าจะครบหนึ่งหน้า ซึ่งปัจจุบันมีซอฟต์แวร์หลายตัวที่ใช้กับสแกนเนอร์แบบมือถือ ซึ่งสามารถต่อภาพที่เกิดจากการสแกนหลายครั้งเข้าต่อกัน

เทคโนโลยีการสแกนภาพ มีดังต่อไปนี้
1 แบบ PMT (Photomultiplier Tube)
เทคโนโลยีแบบ PMT หรือ Photomultiplier tube ใช้หัวอ่านที่ทำจากหลอดสุญญากาศให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าและสามารถขยาย สัญสัญญาณได้กว่าร้อยเท่า ทำให้ภาพที่ได้มีความละเอียดสูงและมีราคาแพง
2 แบบ CIS (Contact Image Sensor)
เทคโนโลยีแบบนี้ใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์แบบสัมผัสภาพซึ่งเป็นระบบการทำงานที่ตัวรับแสงจะรับแสงที่สะท้อนกลับจากภาพมายังตัวเซนเซอร์โดยตรง ไม่ต้องผ่านกระจกเลนส์ลำแสงสีขาวที่ใช้ในการสแกนจะมี 3 หลอดสีคือ สีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว ทั้ง 3 หลอดจะสร้างแสงสีขาวขึ้นมาเพื่อใช้สแกน สำหรับสแกนเนอร์ที่ใช้ระบบ CIS นี้ ให้ความละเอียดสูงสุดได้ประมาร 600 จุดต่อนิ้วเท่านั้น ระบบนี้จะมีข้อจำกัดเรื่องของการโฟกัส คือ ไม่สามารถโฟกัสได้เกิน 0.2 มม. จึงทำให้ไม่สามารถสแกนวัตถุที่มีความลึกหรือวัตถุ 3 มิติได้
3 แบบ CCD (Charge – Coupled Deiver)
เทคโนโลยีแบบ CCD หรือ Charge – Coupled deiver ใช้หัวอ่านที่ไวต่อการรับแสงและสามารถแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า สแกนเนอร์ส่วนใหญ่ใช้เซนเซอร์แบบ CCD จึงทำให้สามารถสแกนวัตถุที่มีความลึกหรือวัตถุ 3 มิติได้ แต่รูปทรงจะมีขนาดใหญ่กว่าแบบ CIS เพื่อรองรับแผงวงจรที่ใช้พลังงานสูง การทำงานของสแกนเนอร์แบบ CCD คือกการส่องแสงไปที่วัตถุที่ต้องการสแกน เมื่อแสงสะท้อนกับวัตถุและสะท้อนกลับมาจะถูกส่งผ่านไปที่ CCD เพื่อตรวจวัดความเข้มข้นของแสงที่สะท้อนกลับออกมาจากวัตถุ และแปลงกลับมาจะถูกส่งผ่านไปที่ CCD เพิ่อตรวจวัดความเข้มข้นของแสงที่สะท้อนกลับออกมาจากวัตถุ และแปลงความเข้มของแสงให้เป็นข้อมูลทางดิจิตอล เพื่อส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์ เพื่อประมาลภาพหรือสีนั้นๆ ออกมา ในลักษณะความเข้มข้นของแสงที่ออกมาจากวัตถุ (ส่วนของสีที่มีสีเข้มจะสะท้อนแสงน้อยกว่าส่วนที่มีสีอ่อน) การทำงานของเครื่องสแกนเนอร์จะถูกควบคุมโดยซอฟแวร์ที่เรียกว่า TWAIN ซึ่งจะควบคุมการอ่านข้อมูลที่อยู่ในรูปดิจิตอลเป็นข้อมูลที่ CCD สามารถตรวจจับปริมาณความเข้มข้นของแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุนั้น แต่ในกรณีที่วัตถุนั้นเป็นลักษณะโปร่งแสง เช่น ฟิล์ม หรือแผ่นใสที่ออกมาจากเครื่องสแกนเนอร์ จะทะลุผ่านม่านวัตถุนั้นออกไป โดยจะไม่มีการสะท้อนหรือถ้ามีการสะท้อนก็จะน้อยมากจน CCD ตรวจจับความเข้มของแสงนั้นไม่ได้หรือถ้าได้ก็อาจเป็นข้อมูลที่มีความผิดเพี้ยนไป ดังนั้นการสแกนวัตถุที่มีลักษณะโปร่งแสงนั้น ต้องมีชุดหลอดไฟส่องสว่างด้านบนของวัตถุนั้น ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้ได้แก่ Transparency Unit หรือ Film Adapt

ประเภทของภาพที่เกิดจากการสแกน แบ่งเป็นประเภทดังนี้
1 ภาพ Single Bit
ภาพ Single Bit เป็นภาพที่มีความหยาบมากที่สุด ใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุดและนำมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้ แต่ข้อดีของภาพประเภทนี้คือ ใช้ทรัพยากรของเครื่องน้อยที่สุด ใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการสแกนภาพน้อยที่สุด Single – bit แบ่งออกได้สองประเภทคือ
1.1 Line Art ได้แก่ภาพที่มีส่วนประกอบเป็นภาพขาวดำ ตัวอย่างของภาพพวกนี้ ได้แก่ ภาพที่ได้จากการสเก็ต
1.2 Halftone ภาพพวกนี้จะให้สีที่เป็นโทนสีเทามากกว่า แต่โดยทั่วไปยังถูกจัดว่าเป็นภาพประเภท Single – bit เนื่องจากเป็นภาพหยาบๆ
2 ภาพ Gray Scale
ภาพพวกนี้จะมีส่วนประกอบมากกว่าภาพขาวดำ โดยจะประกอบด้วยเฉดสีเทาเป็นลำดับขั้น ทำให้เห็นรายละเอียดด้านแสง-เงา ความชัดลึกมากขึ้นกว่าเดิม ภาพพวกนี้แต่ละพิกเซลหรือแต่ละจะของภาพอาจประกอบด้วยจำนวนบิตมากกว่าต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น
3 ภาพสี
หนึ่งพิกเซลของภาพสีนั้นประกอบด้วยจำนวนบิตมหาศาล และใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมาก ความสามรถในการสแกนภาพออกมาได้ละเอียดขนาดไหนนั้นจะขึ้นอยู่กับว่าใช้สแกนเนอร์ขนาดความละเอียดเท่าไร
4 ตัวหนังสือ
ตัวหนังสือในที่นี้ได้แก่ เอกสารต่างๆ เช่น ต้องการเก็บเอกสารโดยไม่ต้องพิมพ์ลงในแฟ้มเอกสารของเวิร์ดโปรเซสเซอร์ ก็สามารถใช้สแกนเนอร์สแกนเอกสารดังกล่าว และเก็บไว้เป็นแฟ้มเอกสารได้ นอกจากนี้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถใช้ โปรแกรมที่สนับสนุน OCR (Optical Characters Recognize)มาแปลงแฟ้มภาพเป็นเอกสารดังกล่าวออกมาเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถแก้ใขได้

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ภาพถ่ายทางอากาศ


ภาพถ่ายทางอากาศ คือ รูปถ่ายของภูมิประเทศที่ได้จาการถ่ายรูปโดยนำกล้องถ่ายรูปขชึ้นไปกับอากาศยาน แล้วเปิดหน้ากล้องปล่อยให้แสงสะท้อนจากสิ่งทั้งหลายที่ปรากฏอยู่เบื้องล่างเข้าสู้เลนส์ กล้องถ่ายรูปจะผ่านกรรมวิธีล้างและอัดภาพ จะได้รูปถ่ายที่มีภาพของรายละเอียดอยู่บนพื้นผิวภูมิประเทศ ความเข้มของสิ่งต่างในรูปถ่ายทางอากาศ จะบอกถึงความแตกต่างกันทั้งทางด้านภูมิศาสตร์กายภาพ พืชพรรณธรรมชาติและก็จะเปลี่ยนไปตามฤดูกาล

ประโยชน์ของภาพถ่ายทางอากาศ

1. ใช้ภาพถ่ายทางอากาศทางยุทธวิธี ในการสำรวจลักษณะภูมิประเทศเพื่อปฏิบัติการทางทหาร ต้องใช้ภาพถ่ายสำหรับประกอบดูรายละเอียด

2. ใช้ภาพถ่ายทางอากาศเพื่อการหาข่าว ใช้ถ่ายภาพในเขตข้าศึก เพื่อหยั่งรู้แหล่งที่ตั้งโรงงานคลังอาวุธฐานทัพในดินแดนศัตรู เช่น สมัยสงครามเวียดนาม สหรัฐอเมริกา ใช้ภาพถ่ายทางอากาศประกอบการทิ้งระเบิดในเวียดนามเหนือ

3. ใช้ภาพถ่ายทางอากาศเพื่อทำแผนที่ โดยใช้เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับการทำแผนที่ประกอบการสำรวจทำให้ถูกต้อง

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การถ่ายภาพสามมิติ

การถ่ายภาพสามมิติ (Stereoscopy หรือ stereoscopic imaging หรือ 3-D imaging) หมายถึงเทคนิคใดก็ได้ที่สามารถเก็บข้อมูลภาพเป็นสามมิติหรือที่สามารถสร้างภาวะลวงตาให้เห็นความลึกของภาพนั้นได้ ภาวะความลึกลวงตา (illusion of depth) ของภาพถ่าย ภาพยนตร์ หรือภาพสองมิติอื่นๆ สร้างได้โดยวิธีทำเป็นภาพ 2 ภาพ ที่มีความแตกต่างเล็กน้อยแก่ตาที่มองแต่ละข้าง การแสดงรูปในแบบ 3 มิติใช้วิธีนี้ การสร้างภาพ 3 มิติ ประดิษฐ์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดย เซอร์ ชาร์ล วีทสโตน เมื่อ พ.ศ. 2381 การถ่ายภาพ 3 มิติถูกนำมาใช้ในการทำแผนที่จากภาพถ่ายทางอากาศ (photogrammetry) รวมทั้งในด้านการบันเทิงโดยทำเป็น คู่ภาพทรวดทรวด (stereograms) ซึ่งเป็นกล้องสองตาที่เป็นที่นิยมดูภาพสวยงาม ในสมัยก่อนการถ่ายภาพสามมิติมีประโยชน์ในการดูภาพเอนกมิติที่สร้างจากการรวมชุดข้อมูลขนาดใหญ่ที่ใช้ในการทดลองต่างๆ ภาพถ่ายสามมิติในการอุตสาหกรรมสมัยใหม่อาจใช้เครื่องกราดภาพ 3 มิติ (3D scanners) สำหรับตรวจจับและบันทึกข้อมูล 3 มิติ ข้อมุลความลึกสร้างจากภาพ 2 ภาพ โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยด้วยการใส่จุดภาพสมนัยตามที่ได้ลงบนภาพซ้ายและภาพขวา การแก้ปัญหาความสมนัย (Correspondence problem) ในสนามภาพของคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer Vision) มุ่งไปที่การสร้างข้อมูลความลึกที่มีความหมายจาก 2 ภาพ
การถ่ายภาพสามมิติทั่วไป ประกอบด้วยการสร้างภาพลวง 3 มิติโดยเริ่มจากภาพ 2 มิติคู่ วิธีที่ง่ายที่สุดในการสร้างการรับรู้ทางลึกในสมอง คือการให้ตาของผู้มอง 2 ภาพที่ต่างกัน ให้เห็นทัศนมิติในวัตถุเดียวกันด้วยการเหลื่อมเพียงเล็กน้อย ดังที่ตาเราแต่ละข้างมองเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาตามธรรมชาติ เพื่อหลีกเลี่ยงการล้าตาหรือการบิดเลื่อนจากการมองภาพ 2 มิติทั้งสองภาพควรอยู่ในระยะชิดกันในระยะที่พอเหมาะ

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของ Histogram กับ จอ LCD หลังกล้อง

เมื่อเราให้กล้อง LCD ส่วนมากจะพบกับปัญหามากมายหลายอย่าง วิธีแก้ที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่งก้อคือ การดู Histogram ตามปกติแล้ว
Histogram ด้านขวาจะหมายถึง ส่วนที่สว่าง ด้านซ้าย คือส่วนที่มืด ถ้าภาพค่อนข้างมีส่วนที่เป็นสีดำมาก กราฟด้านขวาจะสูง กราฟด้านซ้ายจะเตี้ย ถ้ามีปริมาณสีขาวมาก กราฟด้านขวาจะสูง ย่านโทนไหนที่ไม่ปรากฏในภาพเลย จะแบราบ


ตังอย่าง histogram 3 แบบ กับภาพที่ต่างกัน



จากภาพด้านล่างจะเห็นว่า เราเห็นภาพส่วนท้องฟ้าเป็นสีขาว ไปแล้ว ซึ่งอาจเกิดเพราะปรับจอ LCD สว่างเกินไป แต่เมื่อดู histogram แล้วจะพบว่า ท้องฟ้าไม่ได้เป็นสีขาว เพราะ histogram ด้านขวาสุดไม่ได้แสดง

ประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างของ histogram คือ ช่วยให้เรานึกภาพการปรับแก้ในภายหลังออกได้ เช่น ภาพมิกกี้ และ มินนี่ จะเห็นว่า มีส่วนที่เป็นสีขาวและสีดำมาก ทำให้เรารู้ได้ว่า ส่วนที่เป็นท้องผ้าและเสื้อผ้า กลายเป็นดำแท้ ขาวแท้ ซึ่งเราจะไม่สามารถปรับแก้ภาพนี้ได้ หากต้องการเห็นเมฆบนท้องฟ้า หรือ เห็นรายละเอียดของเสื้อผ้า กรณีแบบนี้ที่ชัดเจนในการถ่ายภาพจริงคื การถ่ายรับปริญญาที่ชุดครุยเป็นสีดำ



ในอีกกรณี เราสามารถเช็คได้ว่า ขนสีขาวของโดนัลกับถุงมือ สว่างเกินไปหรือไม่ เมื่อดู histogram ก็จะเห็นว่า ส่วนที่เป็นสีขาวแท้ แทบจะไม่มีทำให้คาดเดาได้ว่า ขนสีขาวและถุงมือส่วนใหญ่ยังอยู่ในช่วงที่ค่อนข้างสว่าง แต่ไม่ได้ขาวจนไม่เหลือเนื้อ ยังสามารถแก้ใขให้เห็นขนชัดเจนขึ้นเมื่อ Process ได้

สำหรับกรณีสุดท้าย สมมุติว่าแสงน้อย หากถ่ายที่วัดแสงได้พอดี สปีดจะต่ำกว่า 1/60 ซึ่งถือด้วยมือไม่ได้ เราจึงทำใจถ่าย under มา 1stop เพื่อให้สปีดได้ 1/60 เราเห็นภาพชัดเจนว่า ถ่าย under แต่ก็ถือว่าเป็นภาพที่ยอมรับได้ เนื่องจาก histogram ส่วนใหญ่อยู่โทนสีเทาและไม่ได้มือดเกินไป จนมีปัญหาเรื่อง Noise เมื่อปรับแก้ให้สว่างขึ้น

จะเห็นได้ว่า histogram ไม่ใช่ ฟังก์ชั้นที่บอกว่าปูดตรงกลางเป็นรูประฆังคว่ำแล้วสวย เบ้ซ้ายคือมืดไป เบ้ขวาคือสว่างเกินไปเพียงอย่างเดียว แต่รูปทรงของ histogram ยังเป็นกราฟฟิคที่สะท้อนให้เราเข้าใจได้ง่ายถึงคทแร๊คเตอร์ของภาพแบบต่างๆ เช่น หากเราถ่าย Silhouette (ภาพเงาดำ) histogram ย่อมแสดงออกมาว่ามีน้ำหนักอยู่สองช่วงใหญ่ๆ คือช่วงเทากลางเกือบขาว ในส่วนฉากหลังและช่วงที่เป็น สีดำแท้ ปริมาณมาก เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

หลุมยุบ (sinkhole)




หลุมยุบ (sinkhole)


เป็ฯปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ดินยุบตัวลงเป็นหลุมเล็ก และมีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 1-200 เมตร ลึกตั้งแต่ 1ภึง มากกว่า 20 เมตร เมื่อแรกเกิดปากหลุมมีลักษณะเกือบกลมและมีน้ำขังอยู่ก้นหลุม ภายหลังน้ำจะกัดเซาะดินก้นหลุมกว้างขึ้น ลักษณะคล้ายลูกน้ำเต้า ทำให้ปากหลุมพังลงมาจนเหมือนกับว่าขนาดของหลุมยุบกว้างขึ้น โดยปกติหลุมยุบจะเกิดในบริเวณที่ราบใกล้กับภูเขาที่เป็นหินปูน เนื่องจากหินปูนมีคุณสมบัติละลายน้ำที่มีสภาพเป็นกรดอ่อนได้ ประกอบกับภูเขาหินปูนมีรอยเลื่อนและรอยแตกมากมาย จะสังเกตได้ว่าภูเขาหินปูนมีหน้าผาชัน หน้าผาเป็นรอยเลื่อนและรอยแตกในหินปูนนั่นเอง บริเวณใดที่รอยแตกของหินปูนตัดกันจะเป็นบริเวณที่ทำให้เกิดโพรงได้ง่าย โพรงหินปูนถ้าอยู่พ้นผิวดินก็คือถ้ำ ถ้าไม่พ้นเรียกว่าโพรงหินปูนใต้ดิน ซึ้งจำแนกเป็น 2 ระดับคือ โพรงหินปูนใต้ดินระดับลึก (ลึกจากผิวดินมากกว่า 50 เมตร) และโพรงหินปูนระดับตื้น (ลึกจากผิวดินไม่เกิน 50) ส่วนใหญ่หลุมยุบจะเกิดในบริเวณที่มีโพรงหินปูนระดับตื้น หลุมยุบเกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กรมทรีพยากรธรณ๊ได้รับแจ้งและเข้าไปตรวจสอบพื้นที่มากกว่า 45 แห่ง โดยพบว่าพื้นที่ที่เกิดหลุมยุบอยู่บนที่ราบใกล้ภูเขาหินปูน ภายหลังการเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ เมื่อวันที่ 26 ธันว่าคม 2547 พบว่ามีหลุมยุบเกิดขึ้นมากกว่า 19 ครั้ง โดยเกิดใน 4 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงภัยพิบัติทางธรณีครั้งนี้ คือ จังหวัดสตูล พังงา กระบี่ และตรัง ถึง 14 ครั้ง เกิดขึ้นในภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย 4 ครั้ง และเกิดในภูมิภาคอื่นคือ เลย 1 ครั้ง