วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของ Histogram กับ จอ LCD หลังกล้อง

เมื่อเราให้กล้อง LCD ส่วนมากจะพบกับปัญหามากมายหลายอย่าง วิธีแก้ที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่งก้อคือ การดู Histogram ตามปกติแล้ว
Histogram ด้านขวาจะหมายถึง ส่วนที่สว่าง ด้านซ้าย คือส่วนที่มืด ถ้าภาพค่อนข้างมีส่วนที่เป็นสีดำมาก กราฟด้านขวาจะสูง กราฟด้านซ้ายจะเตี้ย ถ้ามีปริมาณสีขาวมาก กราฟด้านขวาจะสูง ย่านโทนไหนที่ไม่ปรากฏในภาพเลย จะแบราบ


ตังอย่าง histogram 3 แบบ กับภาพที่ต่างกัน



จากภาพด้านล่างจะเห็นว่า เราเห็นภาพส่วนท้องฟ้าเป็นสีขาว ไปแล้ว ซึ่งอาจเกิดเพราะปรับจอ LCD สว่างเกินไป แต่เมื่อดู histogram แล้วจะพบว่า ท้องฟ้าไม่ได้เป็นสีขาว เพราะ histogram ด้านขวาสุดไม่ได้แสดง

ประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างของ histogram คือ ช่วยให้เรานึกภาพการปรับแก้ในภายหลังออกได้ เช่น ภาพมิกกี้ และ มินนี่ จะเห็นว่า มีส่วนที่เป็นสีขาวและสีดำมาก ทำให้เรารู้ได้ว่า ส่วนที่เป็นท้องผ้าและเสื้อผ้า กลายเป็นดำแท้ ขาวแท้ ซึ่งเราจะไม่สามารถปรับแก้ภาพนี้ได้ หากต้องการเห็นเมฆบนท้องฟ้า หรือ เห็นรายละเอียดของเสื้อผ้า กรณีแบบนี้ที่ชัดเจนในการถ่ายภาพจริงคื การถ่ายรับปริญญาที่ชุดครุยเป็นสีดำ



ในอีกกรณี เราสามารถเช็คได้ว่า ขนสีขาวของโดนัลกับถุงมือ สว่างเกินไปหรือไม่ เมื่อดู histogram ก็จะเห็นว่า ส่วนที่เป็นสีขาวแท้ แทบจะไม่มีทำให้คาดเดาได้ว่า ขนสีขาวและถุงมือส่วนใหญ่ยังอยู่ในช่วงที่ค่อนข้างสว่าง แต่ไม่ได้ขาวจนไม่เหลือเนื้อ ยังสามารถแก้ใขให้เห็นขนชัดเจนขึ้นเมื่อ Process ได้

สำหรับกรณีสุดท้าย สมมุติว่าแสงน้อย หากถ่ายที่วัดแสงได้พอดี สปีดจะต่ำกว่า 1/60 ซึ่งถือด้วยมือไม่ได้ เราจึงทำใจถ่าย under มา 1stop เพื่อให้สปีดได้ 1/60 เราเห็นภาพชัดเจนว่า ถ่าย under แต่ก็ถือว่าเป็นภาพที่ยอมรับได้ เนื่องจาก histogram ส่วนใหญ่อยู่โทนสีเทาและไม่ได้มือดเกินไป จนมีปัญหาเรื่อง Noise เมื่อปรับแก้ให้สว่างขึ้น

จะเห็นได้ว่า histogram ไม่ใช่ ฟังก์ชั้นที่บอกว่าปูดตรงกลางเป็นรูประฆังคว่ำแล้วสวย เบ้ซ้ายคือมืดไป เบ้ขวาคือสว่างเกินไปเพียงอย่างเดียว แต่รูปทรงของ histogram ยังเป็นกราฟฟิคที่สะท้อนให้เราเข้าใจได้ง่ายถึงคทแร๊คเตอร์ของภาพแบบต่างๆ เช่น หากเราถ่าย Silhouette (ภาพเงาดำ) histogram ย่อมแสดงออกมาว่ามีน้ำหนักอยู่สองช่วงใหญ่ๆ คือช่วงเทากลางเกือบขาว ในส่วนฉากหลังและช่วงที่เป็น สีดำแท้ ปริมาณมาก เป็นต้น

วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

หลุมยุบ (sinkhole)




หลุมยุบ (sinkhole)


เป็ฯปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ดินยุบตัวลงเป็นหลุมเล็ก และมีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 1-200 เมตร ลึกตั้งแต่ 1ภึง มากกว่า 20 เมตร เมื่อแรกเกิดปากหลุมมีลักษณะเกือบกลมและมีน้ำขังอยู่ก้นหลุม ภายหลังน้ำจะกัดเซาะดินก้นหลุมกว้างขึ้น ลักษณะคล้ายลูกน้ำเต้า ทำให้ปากหลุมพังลงมาจนเหมือนกับว่าขนาดของหลุมยุบกว้างขึ้น โดยปกติหลุมยุบจะเกิดในบริเวณที่ราบใกล้กับภูเขาที่เป็นหินปูน เนื่องจากหินปูนมีคุณสมบัติละลายน้ำที่มีสภาพเป็นกรดอ่อนได้ ประกอบกับภูเขาหินปูนมีรอยเลื่อนและรอยแตกมากมาย จะสังเกตได้ว่าภูเขาหินปูนมีหน้าผาชัน หน้าผาเป็นรอยเลื่อนและรอยแตกในหินปูนนั่นเอง บริเวณใดที่รอยแตกของหินปูนตัดกันจะเป็นบริเวณที่ทำให้เกิดโพรงได้ง่าย โพรงหินปูนถ้าอยู่พ้นผิวดินก็คือถ้ำ ถ้าไม่พ้นเรียกว่าโพรงหินปูนใต้ดิน ซึ้งจำแนกเป็น 2 ระดับคือ โพรงหินปูนใต้ดินระดับลึก (ลึกจากผิวดินมากกว่า 50 เมตร) และโพรงหินปูนระดับตื้น (ลึกจากผิวดินไม่เกิน 50) ส่วนใหญ่หลุมยุบจะเกิดในบริเวณที่มีโพรงหินปูนระดับตื้น หลุมยุบเกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กรมทรีพยากรธรณ๊ได้รับแจ้งและเข้าไปตรวจสอบพื้นที่มากกว่า 45 แห่ง โดยพบว่าพื้นที่ที่เกิดหลุมยุบอยู่บนที่ราบใกล้ภูเขาหินปูน ภายหลังการเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ เมื่อวันที่ 26 ธันว่าคม 2547 พบว่ามีหลุมยุบเกิดขึ้นมากกว่า 19 ครั้ง โดยเกิดใน 4 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงภัยพิบัติทางธรณีครั้งนี้ คือ จังหวัดสตูล พังงา กระบี่ และตรัง ถึง 14 ครั้ง เกิดขึ้นในภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย 4 ครั้ง และเกิดในภูมิภาคอื่นคือ เลย 1 ครั้ง