วันอังคารที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2553

การโมเสคภาพ (Mosaic) และตกแต่งภาพ

โมเสคภาพ (Mosaic) และตกแต่งภาพ
การเชื่อมต่อข้อมูลภาพ (Mosaic) เป็นการเชื่อมต่อหรือซ้อนภาพหลายภาพเข้าด้วยกัน เพื่อรวมกันเป็นภาพเดียว ซึ่งจะทำให้ภาพที่ได้ใหม่มีขนาดของข้อมูลใหญ่ขึ้น กระบวนการในการเชื่อมต่อข้อมูลภาพนี้เราเรียกว่า Mosaic ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้สร้างภาพเพียงภาพเดียวจากข้อมูลดาวเทียมในบริเวณที่ติดกันหรือใกล้เคียงกันหลายๆ ภาพ การทำโมเสคจะได้ภาพใหม่ที่มีการลดหรือขจัดความแตกต่างระหว่างภาพในส่วนที่มีการซ้อนทับกัน (Overlap) ในบริเวณรอยต่อของทั้งสองภาพ เพื่อไม่ให้มีความเข้มระดับสีเทาที่แตกต่างกันมากนัก สำหรับข้อมูลภาพที่จะนำมาโมเสค ข้อมูลภาพทั้ง 2 จะต้องมีขนาดของจุดภาพ (Pixel size) เท่ากันและระบบตำแหน่งพิดกัดของภาพเหมือนกันหลังจากที่มีการปรับแก้ทางเรขาคณิตแล้ว ขั้นตอนในการโมเสค หลังจากที่นำภาพทั้ง 2 ซ้อนทับเข้าด้วยกัน บริเวณที่ซ้อนทับกันของภาพจะต้องมีการกำหนดตำแหน่งพิกัดใหม่โดยใช้จุดควบคุมทางภาคพื้นดิน (GCPs) เพื่อให้แต่ละจุดภาพมีการปรับแก้ทางตำแหน่งตรงกัน จากนั้นจะทำการกำจัดจุดภาพที่ซ้ำซ้อน (Duplicate pixel) ที่อยู่ภายในบริเวณ overlap ของภาพทั้ง 2 ออกไปให้เหลือเพียงจุดภาพชุดเดียว แล้วทำการยึดค่าความคมชัดที่เหมาะสมกับจุดภาพทั้งหมดของข้อมูลภาพทั้งสองให้พร้อมกัน เพื่อให้ได้ภาพใหม่มีระดับความเข้มที่สม่ำเสมอตลอดทั้งภาพ

การประยุกต์ใช้ขอมูลรีโมทเซนซิงในประเทศไทย


การสำรวจข้อมูลจากระยะไกลมีประโยชน์ในการนำมาใช้เพื่อแปลตีความและวิเคราะห์หาข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้ รวมตลอดถึงสามารถใช้ในการสำรวจสภาพความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาด้วย โดยจะได้ผลการสำรวจในรูปของแผนที่ ซึ่งสามารถนำมาศึกษา ค้นคว้า วิจัย วิเคราะห์ และประเมินผล เพื่อหาภูมิประเทศต่อไปได้ในปัจจุบันวิทยาการสาขาต่างๆ ที่ได้มีการนำข้อมูลการสำรวจระยะไกลมาใช้ประโยชน์ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ป่าไม้
การติดตามตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าไม้ทั่วประเทศพบว่า ในปี พ.ศ. 2516 มีพื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 43.20 ของประเทศ ส่วนปี 2543 เหลือเพียงร้อยละ 33.33 โดยเฉพาะในเขตพืนที่ป่าต้นน้ำลำธาร นอกจากนี้ยังนำข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมมาประยุกต์ใช้ในด้านการจแนกชนิดของป่า สำรวจหาพื้นที่ป่าอุดมสมบูรณ์และป่าเสื่อมโทรมทั่วประเทศ การศึกษาด้านไฟป่า การหาพื้นที่เหมาะสำรหรับการปลูกสร้างสวนป่าทดแทนบริเวณพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกบุกรุก
2. การเกษตร การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมทางด้านการเกษตรส่วนใหญ่จะใช้ศึกษาหาพื้นที่เพาะปลูกของพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ข้าวนาปี ข้าวนาปัง สวนยางพารา สับปะรด อ้อย และ ข้าวโพด การสำรวจตรวจสอบสภาพของพืชที่ปลูก การเปลี่ยนแปลงบริเวณเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ตลอดจนการกำหนดพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการเกษตร
3. การใช้ที่ดิน
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในรูปแบบต่างๆ เช่น การทำเกษตรกรรม เหมืองแร่ การก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัย สำรวจและวางแผนการใช้ที่ดิน การจำแนกความเหมาะสมดิน (Land Suitability) ตลอดจนการจัดทำแผนที่แสดงขอบเขตการใช้ที่ดินแต่ละประเภท ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วตาม ฤดูกาลและสภาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
4. ธรณีวิทยาและธรณีสัณฐาน
การจัดทำแผนที่ภูมิสันฐานวิทยาและแผนที่ภูมิพฤษศาตร์ (Mapping geomorphology and gebtany) แผนที่ธรณีวิทยา (Geology map) ตรวจสอบภาวะธรรมชาติของดิน หินและบริเวณเกิดแผ่นดินไหว การวิเคราะห์ธรณีสันฐานและการระบายน้ำ (Landform and drainage analysis) ธรณีโคร้างสร้างของประเทศไทยซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานสนับสนุนในการพัฒนาประเทศด้านอื่นๆ เช่น การหาแหล่งแร่ แหล่งเชื้อเพลิงธรรมชาติ แหล่งน้ำบาดาล การสร้างเขื่อน เป็นต้น
5. อุทกวิทยา
การศึกษาในด้านอุทกวิทยา อาจรวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับ อุทกภาพ ซึ่งหมายถึงแหล่งน้ำทั้งบนบก ในทะเล น้ำบนดินและน้ำใต้ผิวดิน ซึ่งรวมไปถึงแหล่งน้ำ ปริมาณ คุณภาพ ทิศทางการไหล การหมุนเวียน ตลอดจนองค์ประกอบอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับทรัพยากรน้ำ ภาพถ่ายดาวเทียมจะให้ข้อมูลแหล่งที่ตั้ง รูปร่าง และขนาดของแหล่งน้ำผิวดินเป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้ข้อมูลดาวเทียมสำหรับติดตามประเมินผลการบำรุงรักษาระบบและการจัดสรรน้ำของโครงการชลประทานต่างๆ การศึกษาด้านการใช้น้ำแลการบำรุ่งรักษเขื่อน รวมทั้งการสำรวจบริเวรที่ราบที่จะเกิดน้ำท่วมและสภาวะทน้ำท่วม
6. สมุทรศาสตร์
ศึกษาเกี่ยวกับการไหลเวียนของน้ำทะเล ตะกอนในทะเลและคุณภาพของน้ำบริเวณชายฝั่ง เช่น การแพ่กระจายของตะกอนแขวนลอยที่เกิดจากกิจกรรมเหมืองแร่ในทะเล นอกจากนี้ได้ศึกษาการแพร่กระจายของตะกอนบริเวณปากแม่น้ำต่างๆ ของอ่าวไทย รวมทั้งการติดตามการพังทลายของชายฝั่งทะเล
7. ภัยพิบัติธรรมชาติ
ประเทศไทยมักประสบปัญหาเกี่ยวกับอุบัติภัยทางธรรมชาติ เช่น อุทกภัย วาตภัย และแผ่นดินถล่ม เป็นต้น ซึ่งภาพจากดาวเทียมช่วยทำให้เราทราบขอบเขตบริเวณที่เกิดอุบัติภัยได้รวดเร็ว รวททั้งช่วยในการติดตามและประเมินผลเสียหายเบื้องต้นเกี่ยวกับอุบัติภัยต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการวางแผนการชวยเหลือและฟื้นฟูต่อไปได้ ตัวอย่างเช่น อุทกภัยที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี่ พ.ศ. 2531 วาตภัยที่จังหวัดชุมพร เมื่อปี พ.ศ. 2532 และแผ่นดินถล่มบริเวณ ตำบลน้ำก้อและน้ำชุนจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2543
8. วางผังเมือง
ปัจจุบันภาพถ่ายดาวเทียมมีความละเอียดเชิงพื้นที่เทียบเท่ากับภาพถ่ายทางอากาศ เช่น ภาพจากดาวเทียม IKONOS ที่มีความละเอียด 1 เมตร ซึ่งเหมาะสมในการประยุกต์ใช้ในการวางผังเมืองของชุมชนที่อยู่ในเมืองขนาดใหญ่ และการเคลื่อนย้ายเมืองที่มีความแออัดไปอยู่ในที่แห่งใหม่ ตลอดจนการออกแบบถนนหลวง ไฟฟ้า ประปา และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ให้เหมาะสม
9. การประมง
ใช้ในการสำรวจหาพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประเภทต่างๆ รวมถึงการหาแหล่งที่อยู่อาศัยของปะการังใต้ทะเล การกระจายตัวของแพลงตอนพืชและสัตว์
10. สิ่งแวดล้อม
ใช้ในการตรวจสอบน้ำเสียที่ไหลลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง ตรวจสอบบริเวณที่ครอบคลุมด้วยควันพิษ ตรวจดูผลเสียที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ หรือตรวจสอบสภาวะความเข้มข้นของแก๊สต่างๆ ในชั้นบรรยากาศ
11. การทำแผนที่
ภาพถ่ายดาวเทียมเป็นภาพที่ทันสมัยที่สุดสามารถนำไปแก้ไขแผนที่ภูมิประเทศได้อย่างรวดเร็ว มีความถูกต้องเป็นที่ยอมรับ เช่น ภาพจากดาวเทียม QuickBird ที่มีรายละเอียดเชิงพื้นที่เท่ากับ 61 เซนติเมตร ทำให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้องทางตำแหน่งและรูปทรงเรขาคณิตในระดับสูง นอกจากนี้ภาพถ่ายดาวเทียมสามารถแสดงลักษณะภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ตลอดจนเส้นทางคมนาคม หรือสิ่งก่อสร้างที่เกิดขึ้นใหม่ ทำให้ได้แผนที่ที่ทันสมัยเพื่อการวางแผนที่รวดเร็วและถูกต้องยิ่งขึ้น

คิดอย่างไรไม่ให้เครียด

เดรียด เป็นภาระที่ทุกคนไม่อยากประสบพบพาน แต่คงไม่มีใครที่ไม่เคยเครียด ดังนั้นมาทำความรู้จักกับความเครียด และวิธีการคิดเพื่อที่จะได้ไม่เครียดกันดีกว่า
ความเครียด เป็นเรื่องของร่างกายและจิตใจ ที่เกิดจากการตื่นตัวเตรียมรับกับสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง ซึ่งคาดว่าเป็นเรื่องที่เกินกำลังความสามารถที่จะแก้ไขได้ ทำใหเรารู้สึกหนักใจ เป็นทุกข์และส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติทั้งทางร่างกายและจิตใจตามไปด้วย
ความเครียดนั้นมีกันทุกคน แต่จะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาการคิดการประเมินสถานการณ์ของแต่ละคน ถ้าคิดว่าปัญหาไม่ร้ายแรงแก้ใขได้โดยง่ายๆ ก็จะไม่เครียด แต่ถ้าหากว่าปัญหานั้นยิ่งใหญ่ร้ายแรง แก้ไขลำบาก ก็จะทำให้เกิดความเครียดมาก หากว่าเรามีความเครียดในระดับที่พอดี ก็จะช่วยให้มีพลัง มีความกระตือรือร้นในการต่อสู้ชีวิต ฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ ได้ ซึ่งนี้เองคือข้อดีของความเครียด ไม่ใช่ว่าเครียดจะไม่มีส่วนดีเลย
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเครียดมี 2 ประการคือ
1. สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น ปัญหาเศรวษฐกิจ ปัญหาครอบครัว ปัญหาสังคม ปัญหาการปรับตัว ปัญหาการเรียน ฯลฯ ปัญหาเหล่านี้ล้วนเป็นตัวกระตุ้นอย่างดีที่จะทำให้เกิดความเครียดได้
2. การคิดและการประเมินสถานการณ์ของบุคคล จะสังเกตได้ว่าคนทีมองโลกในแง่ดี มีอารมณ์ขัน ใจเย็น จะมีความเครียดน้อยกว่าคนที่มองโลกในแง่ร้าย เอาจริงเอาจัง ใจร้อนและวู่วาม
จากสาเหตุที่สำคัญนี้ความเครียดจะไม่เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่จะเกิดจากทั้งสองสาเหตุประกอบกันคือ จะมีสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเป็นตัวกระตุ้น แล้วมีความคิดและการประเมินการณ์เป็นตัวบ่งว่าจะเครียดมากเครียดน้อยเพียงใด เมื่อปัญหากระตุ้นให้เกิดความเครียด การลดความเครียดจึงจำเป็นที่จะต้องรู้วิธีคิดที่ถูกต้องเหมาะสม ซึ่งวิธีคิดที่เหมาะสมได้แก่
1. คิดในแง่ดียืดหยุ่นให้มากขึ้น อย่าเอาจริงเอาจัง เข้มงวดจับผิด หรือตัดสินถูกผิดตัวเองหรือผู้อื่นตลอดเวลา รู้จักผ่อนหนักเป็นเบา ผ่อนสั้นเป็นยาว ลดทิฐิมานะและที่สำคัญควรรู้จักการให้อภัยก็จะทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น และมีความเครียดน้อยลง
2. คิดอย่างมีเหตุผล ไม่ด่วนเชื่ออะไรง่ายๆ แล้วยังสามารถตัดความกังวลใจเล็กๆไปได้ ไตร่ตรองให้รอบคอบ เพราะนอกจากจะไม่ทำให้ตกเป็นเหยื่อให้ใครหลอกเอาง่ายๆ แล้ว ยังสามารถตัดความกังวลใจเล็กๆ น้อยๆ ไปไดอีกด้วย
3. คิดหลายๆ แง่มุม มองหลายๆ ด้าน ทั้งด้านดีและไม่ดี พึงระลึกไว้เสมอว่าทุกอย่างมีข้อดีและข้อไม่ดี ประกอบกันทั้งสิ้น จึงไม่ควรมองด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียวให้ใจเป็นทุกข์ และที่สำคัญควรหัดคิดหัดมองในมุมของคนอื่นด้วย อย่างที่เขาเรียกว่าเอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็จจะช่วยให้เรามองอะไรได้กว้างไกลกวาเดิม
4. คิดแต่เรื่องดีๆ เพราะหากว่าเราคิดแต่เรื่องร้ายๆ เรื่องความล้มเหลวผิดหวังหรือเรื่องที่เป็นทุกข์ ก็จะทำให้เครียดมากขึ้น ควรคิดถึงเรื่องดีๆ ให้มากๆ นอกจากไม่ทำให้เครียดแล้วยังทำให้สบายใจมาขึ้นด้วย
5. คิดถึงคนอื่นบ้าง อย่าหมกมุ่นแต่เรื่องของตัวเองเท่านั้น เปิดใจให้กว้างรับรู้ความรู้สึกและความเป็นไปของคนอื่นและคนใกล้ชิด ใส่ใจที่จะช่วยเหลือแก้ใขปัญหาของผู้อื่นในสังคม บางครั้งพบว่าปัญหาหรือความเครียดที่กำลังเผชิญอยู่นั้นเป็นเรื่องเล็กนิดเดียว เมื่อเปรียบเทียบปัญหาของผู้อื่น ซึ่งความรู้สึกแบบนี้จะทำให้เครียดน้อยลง จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น และยิ่งถ้าสามารถช่วยให้ผู้อื่นแก้ไขปัญหาได้ก็จะทำให้สุขใจมากขึ้นเป็นทวีคูณเลยทีเคียว