วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552

พายุน้ำแข็งกับพายหิมะ อุณหภูมิ และกลไกที่ทำให้เกิดมีความแตกต่างกันอย่างไร

พายุหิมะ (snow storm) และพายุน้ำแข็ง (ice storm)เป็นสิ่งที่เกิดในฤดูหนาวเหมือนกัน แต่เราพบพายุหิมะได้บ่อยกว่า
กลไกการเกิดของพายุหิมะและพายุน้ำแข็งที่แตกต่างกัน คือ
พายุหิมะ เกิดจากการที่ไอน้ำในอากาศควบแน่นเป็นเกล็ดน้ำแข็งเล็กๆ จนมีน้ำหนักมากพอก็จะตกลงสู่พื้นดินในสภาพเกล็ดน้ำแข็ง
พายุน้ำแข็ง เกิดจากไอน้ำควบแน่นเป็นน้ำ ซึ่งอยู่ในภาวะ supercooled คือเป็นน้ำที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง แล้วตกลงสู่พื้นดินในสภาพน้ำ เมื่อน้ำนี้ตกลงสู่พื้นดินก็จะแข็งตัวเป็นน้ำแข็งปกคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะฉะนั้นแทนที่พื้นดิน ต้นไม้ สายไฟ จะปกคลุมด้วยเกล็ดหิมะ ซึ่งมีความหนาแน่นต่ำ น้ำหนักก็น้อย กวาดออกก็ง่าย มันก็ถูกปกคลุมด้วยน้ำแข็ง ซึ่งมีความหนาแน่นสูงกว่า หนักกว่าและกวาดไม่ออก ด้วยเหตุนี้พายุน้ำแข็งจึงเป็นอันตรายมา ขับรถก็ไม่ได้เพราะถนนเป็นน้ำแข็ง สายไฟก็อาจขาดเพราะน้ำหนักของน้ำแข็งที่เคลือบอยู่
พายุหิมะและพายุน้ำแข็ง จะมีอุณหภูมิพื้นผิวที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ส่วนลูกเห็บ (hail) จะไม่เกิดในฤดูหนาว มันจะเกิดจาก supercooled water ที่พบในเมฆฝน ซึ่งควบแน่นกลายเป็นน้ำแข็งเนื่องจาก particle บางอย่างที่อยู่ในอากาศเช่น ฝุ่นต่างๆ (การที่น้ำแข็งจะแข็งตัวได้ ไม่ได้ใช่อุณหภูมิอย่างเดียว มันต้องมีแกนให้จับตัวด้วย)และตกลงสู่พื้นผิวที่อุณหภูมิสูงกว่า เพราะฉะนั้นลูกเห็บจะพบในต้นฤดูร้อน และแหล่งที่พบมักจะเป็นเขตใกล้เส้นศูนย์สูตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น