วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553

หลุมยุบ (sinkhole)




หลุมยุบ (sinkhole)


เป็ฯปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ดินยุบตัวลงเป็นหลุมเล็ก และมีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 1-200 เมตร ลึกตั้งแต่ 1ภึง มากกว่า 20 เมตร เมื่อแรกเกิดปากหลุมมีลักษณะเกือบกลมและมีน้ำขังอยู่ก้นหลุม ภายหลังน้ำจะกัดเซาะดินก้นหลุมกว้างขึ้น ลักษณะคล้ายลูกน้ำเต้า ทำให้ปากหลุมพังลงมาจนเหมือนกับว่าขนาดของหลุมยุบกว้างขึ้น โดยปกติหลุมยุบจะเกิดในบริเวณที่ราบใกล้กับภูเขาที่เป็นหินปูน เนื่องจากหินปูนมีคุณสมบัติละลายน้ำที่มีสภาพเป็นกรดอ่อนได้ ประกอบกับภูเขาหินปูนมีรอยเลื่อนและรอยแตกมากมาย จะสังเกตได้ว่าภูเขาหินปูนมีหน้าผาชัน หน้าผาเป็นรอยเลื่อนและรอยแตกในหินปูนนั่นเอง บริเวณใดที่รอยแตกของหินปูนตัดกันจะเป็นบริเวณที่ทำให้เกิดโพรงได้ง่าย โพรงหินปูนถ้าอยู่พ้นผิวดินก็คือถ้ำ ถ้าไม่พ้นเรียกว่าโพรงหินปูนใต้ดิน ซึ้งจำแนกเป็น 2 ระดับคือ โพรงหินปูนใต้ดินระดับลึก (ลึกจากผิวดินมากกว่า 50 เมตร) และโพรงหินปูนระดับตื้น (ลึกจากผิวดินไม่เกิน 50) ส่วนใหญ่หลุมยุบจะเกิดในบริเวณที่มีโพรงหินปูนระดับตื้น หลุมยุบเกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กรมทรีพยากรธรณ๊ได้รับแจ้งและเข้าไปตรวจสอบพื้นที่มากกว่า 45 แห่ง โดยพบว่าพื้นที่ที่เกิดหลุมยุบอยู่บนที่ราบใกล้ภูเขาหินปูน ภายหลังการเกิดภัยพิบัติแผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ เมื่อวันที่ 26 ธันว่าคม 2547 พบว่ามีหลุมยุบเกิดขึ้นมากกว่า 19 ครั้ง โดยเกิดใน 4 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงภัยพิบัติทางธรณีครั้งนี้ คือ จังหวัดสตูล พังงา กระบี่ และตรัง ถึง 14 ครั้ง เกิดขึ้นในภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย 4 ครั้ง และเกิดในภูมิภาคอื่นคือ เลย 1 ครั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น