วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สแกนเนอร์ (Scanner)




สแกนเนอร์(Scanner)
สแกนเนอร์คือ อุปกรณ์จับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของแอนาลอกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถเรียบเรียง เก็บรักษาและผลิตออกมากได้ ภาพนั้นอาจจะเป็นรูปถ่าย ข้อความ ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สแกนเนอร์แบ่งได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ คือ
1 สแกนเนอร์ดึงกระดาษ (Sheet – Fed Scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้จะรับกระดาษแล้วค่อยๆ เลื่อนหน้ากระดาษแผ่นนั้นให้ผ่านหัวสแกน ซึ่งอยู่กับที่ข้อจำกัดของสแกนเนอร์แบบเลื่อนกระดาษ คือสามารถอ่านภาพที่เป็นแผ่นกระดาษได้เท่านั้น ไม่สามารถอ่านภาพจากสมุดหรือหนังสือได้
2 สแกนเนอร์แท่นเรียบ (Flatbed Scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้จะมีกลไกคล้ายๆ กับเครื่องถ่ายเอกสารเราแค่วางหนังสือหรือภาพไว้บนแผ่นกระจกใสและเมื่อทำการสแกน หัวแกนก็จะเคลื่อนที่จากปลายด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ข้อจำกัดของสแกนเนอร์แบบแท่นเรียบคือ กลไกภายในต้องใช้แสงผ่านกระจกหลายแผ่น ทำให้ภาพมีคุณภาพไม่ดีเมื่อเทียบกับแบบแรก
3 สแกนเนอร์มือถือ (Hand – Held Scanner)
สแกนเนอร์แบบนี้ผู้ใช้ต้องเลื่อนหัวสแกนเนอร์ไปบนหนังสือหรือรูปภาพ สแกนเนอร์แบบมือถือได้รวมเอาข้อดีของสแกนเนอร์ทั้งสองแบบเข้าไว้ด้วยกันและมีราคาถูก เพราะกลไกที่ใช้ไม่สลับซับซ้อน แต่ก็มีข้อจำกัดตรงที่ว่าภาพที่ได้จะมีคุณภาพแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับความสม่ำเสมอในการเลื่อนสแกนเนอร์ของผู้ใช้งาน นอกจากนี้หัวสแกนเนอร์แบบนี้ยังมีหัวสแกนที่มีขนาดสั้น ทำให้อ่านภาพบนหน้าหนังสือขนาดใหญ่ได้ไม่ครบ 1 หน้า ทำให้ต้องอ่านหลายครั้งกว่าจะครบหนึ่งหน้า ซึ่งปัจจุบันมีซอฟต์แวร์หลายตัวที่ใช้กับสแกนเนอร์แบบมือถือ ซึ่งสามารถต่อภาพที่เกิดจากการสแกนหลายครั้งเข้าต่อกัน

เทคโนโลยีการสแกนภาพ มีดังต่อไปนี้
1 แบบ PMT (Photomultiplier Tube)
เทคโนโลยีแบบ PMT หรือ Photomultiplier tube ใช้หัวอ่านที่ทำจากหลอดสุญญากาศให้เป็นสัญญาณไฟฟ้าและสามารถขยาย สัญสัญญาณได้กว่าร้อยเท่า ทำให้ภาพที่ได้มีความละเอียดสูงและมีราคาแพง
2 แบบ CIS (Contact Image Sensor)
เทคโนโลยีแบบนี้ใช้เทคโนโลยีเซนเซอร์แบบสัมผัสภาพซึ่งเป็นระบบการทำงานที่ตัวรับแสงจะรับแสงที่สะท้อนกลับจากภาพมายังตัวเซนเซอร์โดยตรง ไม่ต้องผ่านกระจกเลนส์ลำแสงสีขาวที่ใช้ในการสแกนจะมี 3 หลอดสีคือ สีแดง สีน้ำเงิน และสีเขียว ทั้ง 3 หลอดจะสร้างแสงสีขาวขึ้นมาเพื่อใช้สแกน สำหรับสแกนเนอร์ที่ใช้ระบบ CIS นี้ ให้ความละเอียดสูงสุดได้ประมาร 600 จุดต่อนิ้วเท่านั้น ระบบนี้จะมีข้อจำกัดเรื่องของการโฟกัส คือ ไม่สามารถโฟกัสได้เกิน 0.2 มม. จึงทำให้ไม่สามารถสแกนวัตถุที่มีความลึกหรือวัตถุ 3 มิติได้
3 แบบ CCD (Charge – Coupled Deiver)
เทคโนโลยีแบบ CCD หรือ Charge – Coupled deiver ใช้หัวอ่านที่ไวต่อการรับแสงและสามารถแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้า สแกนเนอร์ส่วนใหญ่ใช้เซนเซอร์แบบ CCD จึงทำให้สามารถสแกนวัตถุที่มีความลึกหรือวัตถุ 3 มิติได้ แต่รูปทรงจะมีขนาดใหญ่กว่าแบบ CIS เพื่อรองรับแผงวงจรที่ใช้พลังงานสูง การทำงานของสแกนเนอร์แบบ CCD คือกการส่องแสงไปที่วัตถุที่ต้องการสแกน เมื่อแสงสะท้อนกับวัตถุและสะท้อนกลับมาจะถูกส่งผ่านไปที่ CCD เพื่อตรวจวัดความเข้มข้นของแสงที่สะท้อนกลับออกมาจากวัตถุ และแปลงกลับมาจะถูกส่งผ่านไปที่ CCD เพิ่อตรวจวัดความเข้มข้นของแสงที่สะท้อนกลับออกมาจากวัตถุ และแปลงความเข้มของแสงให้เป็นข้อมูลทางดิจิตอล เพื่อส่งผ่านไปยังคอมพิวเตอร์ เพื่อประมาลภาพหรือสีนั้นๆ ออกมา ในลักษณะความเข้มข้นของแสงที่ออกมาจากวัตถุ (ส่วนของสีที่มีสีเข้มจะสะท้อนแสงน้อยกว่าส่วนที่มีสีอ่อน) การทำงานของเครื่องสแกนเนอร์จะถูกควบคุมโดยซอฟแวร์ที่เรียกว่า TWAIN ซึ่งจะควบคุมการอ่านข้อมูลที่อยู่ในรูปดิจิตอลเป็นข้อมูลที่ CCD สามารถตรวจจับปริมาณความเข้มข้นของแสงที่สะท้อนออกมาจากวัตถุนั้น แต่ในกรณีที่วัตถุนั้นเป็นลักษณะโปร่งแสง เช่น ฟิล์ม หรือแผ่นใสที่ออกมาจากเครื่องสแกนเนอร์ จะทะลุผ่านม่านวัตถุนั้นออกไป โดยจะไม่มีการสะท้อนหรือถ้ามีการสะท้อนก็จะน้อยมากจน CCD ตรวจจับความเข้มของแสงนั้นไม่ได้หรือถ้าได้ก็อาจเป็นข้อมูลที่มีความผิดเพี้ยนไป ดังนั้นการสแกนวัตถุที่มีลักษณะโปร่งแสงนั้น ต้องมีชุดหลอดไฟส่องสว่างด้านบนของวัตถุนั้น ซึ่งอุปกรณ์ชนิดนี้ได้แก่ Transparency Unit หรือ Film Adapt

ประเภทของภาพที่เกิดจากการสแกน แบ่งเป็นประเภทดังนี้
1 ภาพ Single Bit
ภาพ Single Bit เป็นภาพที่มีความหยาบมากที่สุด ใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุดและนำมาใช้ประโยชน์อะไรไม่ค่อยได้ แต่ข้อดีของภาพประเภทนี้คือ ใช้ทรัพยากรของเครื่องน้อยที่สุด ใช้พื้นที่ในการเก็บข้อมูลน้อยที่สุด ใช้ระยะเวลาในการสแกนภาพน้อยที่สุด Single – bit แบ่งออกได้สองประเภทคือ
1.1 Line Art ได้แก่ภาพที่มีส่วนประกอบเป็นภาพขาวดำ ตัวอย่างของภาพพวกนี้ ได้แก่ ภาพที่ได้จากการสเก็ต
1.2 Halftone ภาพพวกนี้จะให้สีที่เป็นโทนสีเทามากกว่า แต่โดยทั่วไปยังถูกจัดว่าเป็นภาพประเภท Single – bit เนื่องจากเป็นภาพหยาบๆ
2 ภาพ Gray Scale
ภาพพวกนี้จะมีส่วนประกอบมากกว่าภาพขาวดำ โดยจะประกอบด้วยเฉดสีเทาเป็นลำดับขั้น ทำให้เห็นรายละเอียดด้านแสง-เงา ความชัดลึกมากขึ้นกว่าเดิม ภาพพวกนี้แต่ละพิกเซลหรือแต่ละจะของภาพอาจประกอบด้วยจำนวนบิตมากกว่าต้องการพื้นที่เก็บข้อมูลมากขึ้น
3 ภาพสี
หนึ่งพิกเซลของภาพสีนั้นประกอบด้วยจำนวนบิตมหาศาล และใช้พื้นที่เก็บข้อมูลมาก ความสามรถในการสแกนภาพออกมาได้ละเอียดขนาดไหนนั้นจะขึ้นอยู่กับว่าใช้สแกนเนอร์ขนาดความละเอียดเท่าไร
4 ตัวหนังสือ
ตัวหนังสือในที่นี้ได้แก่ เอกสารต่างๆ เช่น ต้องการเก็บเอกสารโดยไม่ต้องพิมพ์ลงในแฟ้มเอกสารของเวิร์ดโปรเซสเซอร์ ก็สามารถใช้สแกนเนอร์สแกนเอกสารดังกล่าว และเก็บไว้เป็นแฟ้มเอกสารได้ นอกจากนี้ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันสามารถใช้ โปรแกรมที่สนับสนุน OCR (Optical Characters Recognize)มาแปลงแฟ้มภาพเป็นเอกสารดังกล่าวออกมาเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถแก้ใขได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น